การประกาศสร้างสนามกีฬาฟุตบอลขนาดจุ
100,000 ที่นั่งที่จะนับได้ว่า
เป็นสนามกีฬาที่จุได้มากที่สุดในโลกของ “กวางโจวเอเวอร์แกรนด์” เฉือนสนามของบาร์เซโลนาที่จุ
99,354 ที่นั่ง
การก่อสร้างมูลค่าประมาณ 5.5 หมื่นล้านบาทนั้นไม่ธรรมดา เพราะว่าสนามเดิมของทีมนี้จุผู้ดูแค่ 58,500 ที่นั่งเท่านั้นเรียกได้ว่าเพิ่มขึ้นอีกเกือบเท่าตัวทีเดียว
โดยสนามปัจจุบันนี้เคยเป็นสังเวียนฟุตบอลหญิงชิงแชมป์โลก และ นัดชิงเหรียญทองเอเชียนเกมส์มาแล้วในปี 2553 ชื่อสโมสรถูกปรับเปลี่ยนมาเป็น Guangzhou
Evergrande Football Club
เพราะว่าเปลี่ยนเจ้าของเป็น Evergrande
Real Estate Group
ซึ่งเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ลำดับต้นๆของจีน โดยเจ้าของคือ ฮุ่ย คา เหยียน
เป็นบุคคลรวยอันดับสามของจีน รองจากแจ๊ก หม่า ของอาลีบาบา และ หม่า ฮั่ว เถิง
ของเท็นเซ็น โดยเทคโอเวอร์มาในปี 2553
พอเปลี่ยนเจ้าของก็คว้าแชมป์ทันทีถึง 8 สมัยจาก 9 สมัย คือ ตั้งแต่ 2554ถึง 2562 เว้น
2561 ไปเพียงปีเดียวเท่านั้นที่ได้รองแชมป์
โดยสนามแห่งนี้มีรูปทรงเป็นดอกบัวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของภูเขาดอกบัว หรือ ชื่อจีนคือ เหลียนหัวซาน
ซึ่งเป็นสถานทีท่องเที่ยวที่สำคัญของกวาโจว
คำถามที่สำคัญคือ
แล้วจะคุ้มค่าในการลงทุนหรือไม่เพราะขนาดของสนามมันมากกว่าความต้องการที่แท้จริงของแฟนคลับของทีมหรือไม่ เพราะจากสถิตเก่าคนดูสูงสุดของทีมนี้มีคนดูแค่ 45,795 คน ซึ่งค่าเฉลี่ยคงอยู่ระหว่าง 30,000-40,000 คนโดยประมาณ ระยะแรกคงไม่สามารถสร้างความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจได้เพราะการจะสร้างทีมให้มีแฟนคลับเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวคงต้องใช้เวลาและกลยุทธ์ต่างๆมากมาย
ดังนั้นสนามนี้คงไม่ได้สร้างมาเพื่อเป็นที่แข่งขันฟุตบอลแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะในไชนีสซุปเปอร์ลีกมีแค่ 16 ทีม ดังนั้นสนามจะใช้งานเป็นทีมเหย้าแค่ 15 นัด
(ไม่รวมแมทมช์เอฟเอคัพ และแมทช์อื่นๆ)
แล้วอีก 350
วันสนามจะถูกใช้ทำอะไรบ้างคงเป็นคำถามที่ทางผู้บริหารทีมจะต้องแสวงหาแมทช์การแข่งขันอื่นๆ
รวมทั้งกิจกรรมอื่นๆที่ไม่ใช่ฟุตบอลเพื่อสร้างรายได้ให้กับสโมสร
ซึ่งสนามกีฬาทุกแห่งมีปัญหาในลักษณะนี้อยู่เกือบทุกสนามคือต้องหารายได้อื่นๆเสริม
ไม่ว่าจะเป็นการเยี่ยมชมสนามซึ่งสามารถสร้างรายได้ไม่น้อยทีเดียว
ทั้งนี้มีข้อแม้คือทีมคุณต้องเป็นที่สนใจของแฟนคลับทั่วโลก
เพื่อที่จะได้มีคนเข้าชมอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับสนามของทีมในพรีเมียร์ลีกของอังกฤษ เช่น ลิเวอร์พูล แมนยู
หรือของสเปน เช่น บาร์เซโลน่าเป็นต้น
ด้วยที่ ฮุ่ย คา เหยียน
ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรพัย์อันดับหนึ่งของจีน
คงหาทางพัฒนาสนามกีฬาแห่งนี้เปรียบเสมือนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อื่นๆได้ไม่ยาก คงต้องเฝ้าจับตาดูอย่างใกล้ชิดเพื่อนำแนวคิดมาพัฒนาและต่อยอดการสร้างมูลค่าเพิ่มของสนามกีฬาและเป็นกรณีศึกษาต่อไป
นอกจากนี้เด้วยสถาปัตยกรรมที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของเมือง
ก็คงจะสร้างให้เป็นจุดเช็คอินและสถานที่ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวทั่วไปที่ไม่ใช่แฟนคลับหรือแฟนฟุตบอลเท่านั้น เปรียบเสมือนไปภูเก็ตต้องไปแหลมพรมเทพเพื่อถ่ายรูปพระอาทิตย์ตกดิน
หรือตอนนี้ใครไปบุรีรัมย์แล้วไม่ถ่ายรูปกับสนาม ธันเดอร์คาสเซิลสเตเดียม
(งงในงง) ซึ่งก็คือสนาม ช้างอารีน่านั่นเอง
เพราะผมคาดไว้ว่ามันจะต้องมีบางมุมหรือหลายมุมของสนามแห่งนี้ที่จะกลายเป็นจุดเช็คอิน และ
ต้องไปให้ถึงกวางโจวถ้าไม่ได้ถ่ายรูปแล้วแสดงว่ายังมาไม่ถึงกวางโจว มันจะกลายเป็นสัญลักษณ์แทนอนุเสาวรีย์แพะ5ตัวที่เป็นสัญญลักษณ์ของเมืองกวางโจว WAIT
FOR MEE SEE YOU 2022
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น