แพคเกจของรัฐบาลในการแก้ไขเศรษฐกิจในภาวะวิกฤตโควิด-19
ที่ได้ออกมาหลายแพคเก็จซึ่งคงไม่กล่าวถึงในเรื่องการช่วยเหลือประชาชนที่ผ่านมาแล้ว ที่นับได้ว่าแม้ความตั้งใจจะดีและเติมเงินเข้ากระเป๋าโดยตรงสำหรับผู้เดือดร้อน แต่กระบวนการและการดำเนินการในเรื่องนี้มีจุดโหว่อยู่มากมาย
รวมทั้งอาจจะยังไม่ทั่วถึงและเป็นธรรมแต่ก็ถือว่าทำได้ดีในระดับหนึ่ง
วันที่ผมเขียนบทความนี้เงินที่จ่ายให้ประชาชนสามเดือนนั้นหมดไปแล้วจากนี้ไปนับตั้งแต่เดือน สิงหาคมถึง ธันวาคม 2563 เราจะเห็นภาพของเศรษฐกิจตลอดจนการจ้างงานที่เป็นภาพที่แท้จริงมากยิ่งขึ้น
ซี่งทั้งสองส่วนนี้สัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก
เพราะหากเศรษฐกิจดีการจ้างงานก็จะดีตามมาด้วยอย่างแน่นอน เพราะกิจการก็ต้องมีการผลิตเพิ่มขึ้น ต้องมีการจ้างงาน มีการจ่ายค่าล่วงเวลา ฯลฯ
แต่มาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกกมาแม้จะเชื่อได้ว่าช่วยได้แต่ในมุมมองของผม
ซึ่งเป็นคนตัวเล็กๆคนหนึ่งในสังคมอาจจะมองกลับด้านกัน และคิดว่ามาตราการเหล่านี้ยังมีช่องโหว่และ
เกา.....แต่ไม่หายคัน
กริยาก็บอกแล้ว่า “เกา” ซึ่งก็คือการบรรเทาอาการชั่วคราว ไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ ลองมาดูซัก 2 มาตราการที่ “เกา.........แต่ไม่หายคัน”
1.สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) เพื่อดูแลภาคธุรกิจโดยเฉพาะ SME จำนวน 500,000 ล้านบาท
ซึ่งจัดเงินให้ทางธนาคารพานิชย์ไปปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ 3
เปอร์เซนต์
แต่นับถึงวันนี้เงินก้อนนี้ก็ใช้ยังไม่หมดเพราะว่าธนาคารพานิชย์เองก็ต้องรับผิดชอบในวงเงินที่ปล่อยออกไป
ซึ่งก็ต้องมีการวิเคราะห์หรืออย่างน้อยก็ต้องเชื่อได้ว่าหนี้ที่ปล่อยไปนั้นจะได้รับการชำระหนี้ มิเช่นนั้นก็จะกลายเป็นหนี้ที่ไม่เกิดรายได้จนกลายเป็นภาระผูกพันกับธนาคารเองในอนาคต ดังนั้นบริษัทองค์กรที่จะได้เงินทุนก้อนนี้ก็คือบริษัที่ดีๆ
ทั้งในแง่กิจการ ผู้บริหาร
ตัวสินค้าเองยังคงมีศักยภาพในตลาด ฯลฯ ซึ่งบริษัทเหล่านี้นั้นก็มีการปรับตัว ลดค่าใช้จ่าย สร้างสินค้า / รายได้ใหม่ๆ
เข้ามาเพื่อให้องค์กรอยู่รอดอยู่แล้วแม้ได้รับผลกระทบมากน้อยต่างกัน แต่ก็เชื่อได้ว่ายังอยู่ได้(อย่างลำบาก) ในมุมกลับกันคือผู้ที่ไม่ได้รับสินเชื่อนี้ก็คือผู้ที่มีประวัติไม่ดีทางการเงินอยู่แล้ว สินค้าไม่มีศักยภาพ คุณภาพผู้บริหาร ความซื่อสัตย์ของผู้บริหาร ฯลฯ เรียกได้ว่าไม่มีโควิดก็ร่อแร่ หรือ อยู่วันๆอยู่แล้ว คำถามคือ ธนาคารจะปล่อยกู้ให้หรือไม่ คำตอบแบบไม่ต้องคิด “ไม่ให้กู้ครับ”
แถมยังมีมาตราการซึ่งไม่รู้ว่าแบงค์ชาติหรือธนาคารพานิชย์เองเป็นผู้กำหนด คือให้เงินสินเชื่อนี้เท่ากับวงเงินคงค้าง ณ.
ธันวาคม 2563 เป็นจำนวน 20% คือหมายความว่าถ้าหนี้คุณในวันนั้นเป็น 10 ล้านบาท
ก็จะได้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพียง 2 ล้านบาทเท่านั้นนั่นเอง แปลว่า
“ไม่สนใจว่าจะเพียงพอต่อลมหายใจหรือไม่”
มีหน้าที่ให้กู้แต่ให้ได้แค่นี้แหละ.....เอวัง
แล้วจะทำอย่างไร
.....อย่าซักแต่พร่ำบ่น ..... ต้องทำให้คนในประเทศมีเงินในกระเป๋า เอาเงินทุนเหล่านี้มาจ้างงานในประเทศ
ซึ่งก็เห็นหลายกระทรวงทำอยู่แต่เป็นระยะสั้นๆ 3-6 เดือน และจำนวนคนไม่มากนัก
ก็คงไม่เกิดผลย้อนกลับมาที่เศรษฐกิจเสียเท่าใด คงได้แค่เหมือนมาตราการแจกเงิน 3 เดือนๆละ 5,000 บาทนั่นแหละ
2.มาตราการ “เราเที่ยวด้วยกัน”
วงเงิน 20,000 ล้านบาท
ก็ยังมีช่องว่างและคิดว่ายังมีจุดอ่อนคือ
ต้องลงทะเบียน
เมื่อได้มาแล้วก็ต้องไปจองโรงแรมและจ่ายเงินส่วนของตนเองและส่วนของรัฐจัดให้นั้นทางโรงแรมจะไปเรียกเก็บจากรัฐในภายหลัง แล้วราคาที่โรงแรมตั้งนั้นก็ไม่ได้ถูกจริงๆและจูงใจจนอยากไปพักจริงๆ แน่จริงเอาราคาแบบ ลด 50
เปอร์เซนต์แล้วรัฐอออกให้อีก 40 เปอร์เซนต์ ดังนั้น โรงแรมเคยคืนละ 6,000 บาท ลดปกติเหลือ 3,000 บาท รัฐออกให้ 1,200 เหลือเราจ่ายเอง 1,800 ถ้าอย่างนี้รับรองเว็บล่มแน่ๆ
เรียกว่าคืนละหมื่นเหลือ สามพันรับประกันจองกันตรึมดูได้จากตัวอย่างข้างล่างนี้ แถมจองแล้วเปลี่ยนวันได้หรือเปล่าถ้าติดธุระหรือไปไม่ได้ละ?? มันไม่ชัดเจน ....
เร็วๆนี้มีโรงแรมระดับ
5 ดาว เค้าปรับตัวเปิดโปรแรงจริงๆ คืนละ 1,000 บาท คือโรงแรม เอธินีและ มาริออท
สุริวงษ์ (ในเครือไทยเบฟของเสี่ยเจริญ)
ปรากกฏว่าจองกันอย่างล้นหลามแสดงว่า
คนมีเงินนั้นยังมีอยู่(พอประมาณที่พร้อมจะจับจ่ายใช้สอย) ขอให้สินค้า และ ราคาโดนใจ แบบแรงๆๆ หรือ รร.ลาฟลอร่าเขาหลัก 3 วันสองคือน 5,000 บาท
รวม สปา 90 นาที /ดื่มไม่อั้น 2 ชั่วโมง / อาหารเช้า/ สองคน หรือเอาใกล้ๆ
รร.เฮลท์แลนด์รีสอร์ทพัทยา
ออกโปรที่เรียกว่าผมต้องซื้อเลยแม้จะไปเมื่อใดยังไม่รู้คือ คูปองคืนละ 1,600 บาท
แต่ได้ อาหารเช้า 500 / นวดไทย 2 ชม. 600
บาท / ที่สำคัญ สินค้าสปา พวก ครีมอาบน้ำ
โลชั่น ฯลฯ มูลค่า 2,290 บาท แถมคูปองไม่มีหมดอายุเสียอีก อดใจไม่ได้จัดไปสองคืน
เรื่องการท่องเที่ยวนั้นในภาวะอย่างนี้
ต้องกระตุ้นที่ “คนมีตัง(พอประมาณ)” และจูงใจด้วยการโปรที่แรงๆ เพราะธุรกิจบริการไม่ใช้มันหายไป
โรงแรมไม่มีคนพักเอามาลดแบบว่าไม่ไปไม่ได้ดังตัวอย่างข้างต้นรับรองมาแน่ๆ และ...........รัฐบาลกระตุ้นด้วยการให้เอาค่าใช้จ่ายนี้มา
“เป็นคูปองแทนภาษีที่ต้องจ่าย” ตอนปลายปี
..........หรือถ้าเป็นบริษัทก็เอายอดค่าใช้จ่ายเหล่าหนี้มาหักเป็นเครดิต “ภาษีนิติบุคคล”
แต่บริษัทคงเหลือไม่กี่บริษัทที่จะทำอย่างนั้นได้
บางคนอาจจะแย้งได้ว่า
“อ้าวแล้วรัฐก็เก็บภาษีได้น้อยลง” ถูกต้องครับ
แต่ก็เหมือนกับเงินที่รัฐเอามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ คือยอมไปลดรายได้ แทนที่จะเพิ่มรายจ่าย (กู้เงินมากระตุ้นเศรษฐกิจ)
แทนนั่นเอง
หรืออีกแนวทางหนึ่ง
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดกิจกรรมของจังหวัด ฯลฯ เอาศิลปินดารา ที่ตอนนี้ก็ใส้แห้ง เดิมค่าจ้าง 2 แสน ลดเหลือ 3
หมื่นได้หรือไม่ ฯลฯ พอคนดัง ดารา
นักกีฬา ฯลฯมา ก็จะดึงคนออกมาร่วมกิจกรรม และจับจ่ายใช้สอยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก เศรษฐกิจในท้องถิ่น ไปได้นั่นเอง
เรียกได้ว่า “ความบันเทิง”
ทำให้เราหลงลืมไปว่าเงินมีน้อย
ใช้สอยอย่างประหยัด นั่นเอง...####
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น