วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

บันทึกโตเกียว 2020 ( 2021)

 

           


วันที่ผมเขียนบทความนี้คือวันที่ 23 มิถุนายน  2564 ซึ่งก็เป็นวันนับถอยหลัง 30 วัน สำหรับโอลิมปิกโตเกียว 2020 ที่มาจัดแข่งในปี 2021 อันเนื่องมาจากการระบาดของ โควิด-19  ที่การแข่งขันในครั้งนี้จะไม่มีอนุญาติให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าชมในสนาม ในขณะที่ประชาชนชาวญี่ปุ่นเองส่วนหนึ่งก็มีความกังวลในการจัดการแข่งขันครั้งนี้  ที่จะเป็นตัวเร่งให้โควิด-19 ระบาดมากยิ่งขึ้นเพราะขณะนี้ญี่ปุ่นเองก็ยังไม่สามารถควบคุมการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ  แถมอัตราการฉีดวัคซีนของญี่ปุ่นเองก็ฉีดวัคซีนครบโดสมีแค่ 10.4 ล้านคน คิดเป็น 8.2 % เท่านั้น  ซึ่งนับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว 

                สำหรับโอลิมปิคครั้งที่ 32 โตเกียว 2020 นี้  โตเกียวได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพเป็นครั้งที่สอง โดยครั้งแรกจัดเมื่อ 56 ปีที่ผ่านมาในปี 1964  นอกจากมีการเลื่อนการแข่งขันออกมา 1 ปีซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วนั้น   ยังมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่การแข่งขันครั้งนี้สมควรบันทึกไว้ดังต่อไปนี้

                1.มีกีฬาใหม่ถอดด้ามเข้ามาแข่งขันเป็นครั้งแรกด้วย 4 ชนิด  คือกีฬาคาราเต้, กีฬาสเกตบอร์ด, กีฬาโต้คลื่น และกีฬาปีนผา   และยังได้บรรจุกีฬาเบสบอล และกีฬาซอฟท์บอล อีกครั้งหลังจากที่เคยจัดการแข่งขันที่ ปักกิ่งในปี 2008              

2.ในการคัดเลือกเมืองเจ้าภาพนั้นมีผู้เผ่านเข้ารอบสามเมืองคือ  โตเกียว  อิสตันบูล และมาดริด  แต่เนื่องจากในการลงคะแนนรอบแรกไม่มีเมืองใดได้คะแนนเกินครึ่งหนึ่ง   ซี่งโดยปกติก็จะเอาเมืองที่หนึ่งกับสองมาลงคะแนนใหม่  แต่ครั้งนี้เนื่องจากที่สองกับสามคะแนนเท่ากันคือ 26 คะแนน  ระหว่าง มาดริด กับ อิสตันบูล  จึงต้องลงคะแนนตัดออกหนึ่งเมืองเพื่อไปเป็นผู้ถ้าชิงกับโตเกียว  ปรากฏว่าอิสตันบูลเฉีอนชนะมาดริดไป  49:45  และในรอบตัดสิน ญี่ปุ่นชนะอิสตันบูลไปขาดลอย  60:36

3.มูลค่าของผู้สนับสนุนในการจัดการแข่งขั้นในครั้งนี้ สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของโอลิมปิก ซึ่งมูลค่าสูงถึง 1.3 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ  มากกว่าปักกิ่ง 2008  ที่มูลค่า 1.2 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ  แต่จากการเลื่อนการแข่งขันและยังไม่มีผู้ชมต่างชาติเข้าชมด้วย  ก็ไม่ทราบว่าจะมีการปรับเปลี่ยนสัญญาการสนับสนุนการแข่งขันหรือไม่ อย่างไร ?  เพราะจำนวนคนดู เกมส์การแข่งขัน อาจจะเปลี่ยนแปลงไปเพราะมีหลายชาติไม่ส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขัน

3.สำหรับเมืองที่เป็นเจ้าภาพแล้วถ้ามองระยะสั้นดูเหมือนจะไม่คุ้มค่าการลงทุน  แต่สำหรับญี่ปุ่นแล้วได้คิดวางแผนถึงอนาคตเพราะ  สิ่งที่จะทิ้งไว้หลังเกมส์การแข่งขันก็จำเป็นต้องวางแผนให้เหมาะสมและคุ้มค่า  ตลอดจนคำนึงถึงสังคมที่น่าอยู่ในอนาคตด้วย  เช่น ในครั้งแรกที่จัดโอลิมปิกเมื่อปี 1964  เพราะได้มีการเปลี่ยนโฉมหน้าของประเทศผู้แพ้สงครามเป็น  มหานครที่เจริญที่สุดแห่งหนี่งของโลกมาจนถึงปัจจุบัน  รถไฟฟ้า “ชินคันเซ้น”  ที่เร็วที่สุดในโลกนั้นก็ถือกำเนิดในช่วงเวลานี้ด้วยเช่นกัน  สำหรับครั้งนี้  ชาวโลกจะได้เห็น  ** เทคโนโลยี่  ไม่ว่าจะเป็น การถ่ายทอดแบบ 8K  **การใช้รถพลังงานไฟฟ้า  ** การใช้หุ่นยนต์ในการสื่อสาร การช่วยเหลือนักกีฬา  การพาผู้ชมไปนั่งยังที่นั่ง  ฯลฯ    ** แม้แต่มาสคอ้ตก็เป็นหุ่นยนต์ที่ชื่อว่า มิไรโตะวะ (MIRAITOWA)  มาจากภาษาญี่ปุ่น 2 คำด้วยกันคือ มิไร (Mirai) ที่แปลว่า อนาคต เข้ากับคำว่า โทวะ (Towa) ที่แปลว่า นิรันดร์ ซึ่งแสดงออกถึงความการหลอมรวม  นวตกรรม+วัฒนธรรม นั่นเอง

                4.สุดท้ายคือการแข่งขันครั้งนี้จะเป็นการแข่งขันที่รักษ์โลกมากที่สุดในประวัติศาสตร์  เช่น  การมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์    การทำเหรียญรางวัลจากขยะอีเลคโทรนิคส์จำนวนถึง 5,000 เหรียญ    ใช้พลังลมและแสงอาทิตย์ในการสร้างพลังงานให้กับหมู่บ้านนักกีฬา     ชุดของนักกีฬาญี่ปุ่นในพิธีเปิดและปิดจัดทำโดย  ASICS ที่เป็นบริษัทญี่ปุ่น  ผลิตมาจากเสื้อผ้ารีไซเคิล (ต้องการแสดงเทคโนโลยีการผลิต)   เป็นต้น

โดยมีเป้าหมายให้เป็นโอลิมปิกที่มีนวตกรรมที่ทันสมัยที่สุด  และแน่นอนครับสำหรับญี่ปุ่นเอง  คงได้ขนทั้งเทคโนโลยี่  มาสคอต  การ์ตูน  เกมส์  วัฒนธรรม  และความเป็น ญี่ปุ่น  ออกมาขายในทุกมิติ  ผมเฝ้ารอว่าในพิธีเปิดญี่ปุ่นจะขายอะไร  ให้ฮือฮาเหมือนตอน ที่ให้นายกอาเบะรับมอบธงที่ริโอเมื่อปี 2016    โดยแปลงเป็นมาริโอก็ทำให้โลกตะลึงมาแล้วและเป็นที่ทอคล์ออฟเดอะทาวน์มาแล้ว      ก็ต้องรอดูว่า  โตเกียว 2020 พิธีเปิดจะทำให้โลกตะลึงได้แค่ไหนกัน ... แต่รับประกันซ่อมฟรีว่าต้องคุ้มค่าแก่การรอคอยครับ

 

 

 

 

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขายรัย...ทำไมเราอิน (มาก)

                                                   เครดิตภาพจาก "เฟสบุคไทรสุก"           สองอาทิตย์ก่อนไปเห็นน้องคนหนึ่งที่เป็...