วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2564

นักกีฬาแบดมินตันอาชีพ กับเศรษฐกิจไทย

 


             เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาเราได้ยินข่าวความสำเร็จของนักกีฬาแบดมินตันไทยหลายคน  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เดชาพล-ทรัพย์สิรี  ที่สามารถคว้าแชมป์คู่ผสม   Daihatsu Indonesia Masters 2021 คว้าเงินรางวัลไป 44,400 USD เกือบ 1.5 ล้านบาท ตกคนละ  7.5แสนบาท  ซึ่งรายการนี้เป็นรายการมาสเตอร์ 750  โดยทีทาง BWF  ได้แบ่งการจัดการแข่งขันตามแผนงานแล้วปีละ 26 รายการ  โดยแบ่งออกเป็น 5 ระดับ  เรียกว่าเป็น ซุปเปอร์  1000 / 750 / 500 /  300  ซึ่งแต่ละระดับนั้นก็จะได้รับคะแนนในแต่ละรอบ รวมทั้งเงินรางวัลที่แตกต่างกันไปตามระดับ ซึ่งระดับ ซุปเปอร์ 1000 จะได้คะแนนสะสมและเงินรางวัลสูงที่สุดและลดหลั่นกันลงมา   นอกจากนี้แล้วยังมีระดับ ทัวร์ซุปเปอร์ 100 ซึ่งเป็นการแข่งขันสะสมแต้มของ  BWF    และทุกสิ้นปีจะนำนักกีฬาที่แต้มสะสมสูงสุด 1-8 มาจัดรอบเวิล์ดทัวร์ซึ่งในปี 2521 นี้จะจัดขึ้นที่บาหลีโดยมีเงินรางวัลรวมถึง 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐ     สำหรับปี  2021 นี้เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 จึงจัดแค่ 12 รายการ    และเป็นที่น่ายินดียิ่งที่คู่ผสมเราคือ เดชาพล+ทรัพยสิรี  ได้มาแล้วถึงสองแช้มป์คือ  ที่อินโดนีเซีย ระดับ 750  และ เยรมัน ระดับ 500   รองแชมป์  ระดับ 1000 ที่ เดนมาร์ค และ รอบสี่คนสุดท้ายระดับ 750 ที่ ฝรังเศส  ซึ่งนับเฉพาะ สี่รายการนี้ ทั้งสองคนจะได้รับเงินรางวัลรวมกันทั้งสิ้น 104,830 USD ประมาณ  3.354 ล้านบาท  ยังไม่นับเงินรางวัลในรายการอื่นๆที่แข่งไปแล้วแต่ไม่ได้เข้ารอบรองชนะเลิศอีก 7 รายการ   และยังเหลือการแข่งขันอินโดนีเซียโอเพ่นที่กำลังแข่งขันอยู่  ก่อนเข้าสู่เวิล์ดไฟนอล  วันที่ 1-5 ธันวาคม 2564  ที่บาหลี  อินโดนีเซียเป็นรายการสุดท้ายของปี  ถ้ารวมสองรายการนี้เข้าไปด้วยแล้ว คงน่าจะได้ประมาณ  4.0-5.0  ล้านบาท

จากคะแนนสะสมนับถึงวันที่เขียนบทควมนี้แล้ว เป็นที่น่ายินดีว่าจะมีนักกีฬาแบดมินตันไทยเข้ารอบเวิล์ดไฟนอลดังนี้   ชายเดี่ยว  กุลวุฒิ  หญิงเดี่ยว พรปวีณ์   บุษนันทน์   พิทยาภรณ์ และรัชนก  หญิงคู่ จงกลพรรณ+รวินดา  และคู่ผสม เดชาพล+ทรัพย์สิรี  ซึ่งสุดท้ายแล้วอาจจะมีบางคนหลุดโผเพราะผลงานในอินโดนีเซียโอเพ่นก็เป็นได้   (  หมายเหตุ... ปีนี้ไม่มีนักกีฬาจีนเข้าร่วมการแข่งขันเนื่องจากนโยบายของรัฐบาลจีน...)    อย่างไรก็ตามเมื่อรวมเงินรางวัลและรายได้ของนักกีฬาที่ยังไม่รวมค่าเป็นพรีเซนเตอร์  ค่าสปอนเซอร์ ฯลฯ แล้ว  การเป็นนักกีฬาแบดมินตันอาชีพและมีโอกาสเข้าร่วมระดับเวิล์ดทัวร์ซึ่งแต่ละปีมีจำนวนสูงสุดถึง 26 รายการนั้นย่อมทำรายได้ให้กับนักกีฬาเป็นจำนวนที่มีมูลค่ามหาศาลไม่น้อยเลย   แม้ว่าแบดมินตันอาจจะไม่ใช่กีฬาที่สามารถทำรายสูงมากดังนักกอล์ฟหรือนักฟุตบอล แต่ก็มีประเภทการแข่งขันที่หลากหลาย  และหลายระดับการแข่งขัน  ดังนั้นหากทางสมาคมกีฬาอื่นๆจะได้นำแนวทางของสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ไปเป็นแนวทางในการพัฒนานักกีฬา   เพื่อเข้าสู่การเป็นนักกีฬาอาชีพก็จะสามารถทำเงินให้กับนักกีฬาและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างมีนัยสำคัญ

ดร.พงษ์ศักดิ์ สวัสดิเกียรติ

ภาควิชาการจัดการกีฬา ม.เกษตรศาสตร์

สถาบันวิทยาการโอลิมปิกไทย

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขายรัย...ทำไมเราอิน (มาก)

                                                   เครดิตภาพจาก "เฟสบุคไทรสุก"           สองอาทิตย์ก่อนไปเห็นน้องคนหนึ่งที่เป็...