วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2565

เปิดหัวดีมีชัยไปก่อน


                เดือนมกราคมคงเป็นเดือนแห่งชัยชนะของ  ทีมนักแบดมินตันไทย  ซึ่งในเดือนนี้มีการแข่งขันอยู่ 4 รายการ  มีนักแบดไทยประสบความสำเร็จได้ แชมป์และรองแชมป์ รวมทั้งอันดับ3/4 อยู่ในสามรายการที่แข่งขัน    ที่สำคัญได้แชมป์ ถึง 7 อีเวนต์ จาก 20 อีเวนต์ในการแข่งขัน 4 รายการของปีนี้ แต่มีนักกีฬาไทยเข้าแข่งขันแค่ 3 รายการ  และสองในสามรายการคือรายการแข่งขันระดับ เวิล์ดทัวร์ที่มีการสะสมแต้มเพื่อจัดอันดับโลกในแต่ละสัปดาห์รวมทั้งมีเงินรางวัลจำนวนมาก   ซึ่งBWF มีการจัดระดับเวิร์ดทัวร์นี้โดยมี  ธนาคาร HSBC เป็นไตเติ้ลสปอนเซอร์   และได้แบ่งการแข่งขันออกเป็น 5 ระดับ มีการแข่งขันทั้งปี 2022 รวม 26  รายการ  ดังนี้  

BWF World Tour Super 1000 มี  3 ทัวร์นาเมนท์

BWF World Tour Super 750  มี 5 ทัวร์นาเมนท์

BWF World Tour Super 500  มี 7 ทัวร์นาเมนท์

BWF World Tour Super 300  มี  10 ทัวร์นาเมนท์

และปิดท้ายด้วย World Tour Finals  ที่จะเอานักแบดมินตันที่สะสมแต้มอันดับ 1-8 ของโลกมาแข่งขันในเดือนธันวาคมโดยมีเงินรางวัลรวมถึง 1.5 ล้านเหรียญ  หรือ  ประมาณ 50 ล้านบาท โดยที่ผ่านมา  2021 คู่ผสมของไทยก็สามารถคว้าแชม์ในราการนี้ได้ คือ "บาส" เดชาพล พัววรานุเคราะห์ กับ "ปอป้อ" ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย ได้สุดยอดแชม์ปรายการนี้เป็นครั้งที่สอง  โดยครั้งแรกได้แชมป์ในปี 2021 ที่กรุงเทพจึงนับได้ว่าเป็นการได้แชมป์รายการนี้ติดต่อกัน ขึ้นแท่นมือหนึ่งของโลกในประเภทคู่ผสมจนถึงปัจจุบันนี้

                นอกจากนี้แล้วยังมีอีกหนึ่งรายการคือ   BWF Tour Super 100  มีการจัดกาแรข่งขัน  31 รายกานในปี 2522  ซึ่งสามารถสะสมแต้มเพื่อจัดอันดับโลกประจำสัปดาห์ได้  แต่ไม่นับเป็นส่วนหนึ่งของ   BWF World Tour แต่ก็นับว่าเป็นเส้นทางของนักแบดมินตันในการแข่งขันเพื่อหาประสบการณ์และสะสมแต้มไปในตัว เพื่อทีจะก้าวสู่การแข่งขันในระดับ World Tour ต่อไป 

                ผมได้จัดทำตารางในเรื่องแต้มสะสมและ เงินรางวัลของแต่ละรายการ โดยจัดทำสามรายการคือ  100/500/1000 ซึ่งก็จะได้เห็นถึงความแตกต่างกันอย่างมากของทั้งเงินรางวัลและแต้มสะสม  ตามภาพประกอบ ส่วนระดับ 300/750 ก็จะมีแต้มสะสมหรือเงินรางวัลอยู่ระหว่างระดับการแข่งขันในระดับที่สูงกว่าและต่ำกว่านั่นเอง

 


ดังนั้นหากวางแผนการแข่งขันในระดับต่างๆได้อย่างเหมาะสม  โดยศึกษาจากแต้มสะสมและประวัตินักกีฬาที่เข้าแข่งขันแล้ว  ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการมีอันดับโลกที่สูงขึ้น   เช่น เข้ารอบรองชนะเลิศในรายการ ระดับ 500  จำนวน 3 รายการ ก็จะได้แต้มถึง  19,260  แต้ม  ดีกว่าเข้าแข่งขันระดับ 1000 แต่เข้าได้แค่ รอบ 32 คน จะได้แต้ม แค่  9,000 แต้มเท่านั้น    เรียกได้ว่าต้องมีทั้งฝีมือและการวางแผนที่เหมาะสมและหากมีแต้มสะสมอยู่ในอันดับ  1-8 ของโลกก็จะได้เข้าแข่งระดับเวิล์ดทัวร์ไฟนอลที่มีเงินรางวัลรวม ถึง 50 ล้านบาท  และแต้มสะสมที่สูงถึง 12,000 แต้มหากได้แชมป์อีกด้วย ....

วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2565

ฝึด เฟ้อ เรอเหม็นเปรียว

 


                ในที่สุดเราก็อยู่กับโควิด-19 มาครบ 2 ปี  เพราะการค้นพบโรคนี้ในเดือนธันวาคม 2562  และแพร่ระบาดสู่ประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญในเดือน มีนาคม   เมษายน  2563   แล้วก็ระบาดระลอก 1..2..3..4...และเข้าสู่ระลอก 5  ณ.บัดนาว   จากความกลัวแบบจิตตก   ก็เหลือแค่ความกลัวมาก และลดลงตามกาลเวลา  เพราะสุดท้ายแล้วเราก็ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน  หากมีหรือไม่มีทางป้องกันรักษาก็ตาม   นี่คือความดิ้นรนและปรับตัวเพื่อการอยู่รอดของมวลมนุษย์ชาติ  

                แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นสิ่งตกค้างและดำรงอยู่ที่ไม่ใช่ในทางสาธารณสุขก็คือ  “ปัญหาทางเศรษฐกิจ”  ที่แม้วันนี้จีดีพีของไทยเราจากตอนต้นปี 64 คาดว่าอาจจะติดลบ  แต่ตอนนี้เชื่อได้ว่าคงบวกนิดหน่อยตามประมาณการของผู้รู้ไม่ว่า ธปท. ศศก. ก็น่าจะอยู่ระหว่าง 1-2 เปอร์เซนต์     พอย่างเข้า 2565 มีปรากฏการณ์ที่ผิดปกติขึ้นในระบบเศรษฐกิจของไทย  นั่นก็คือข้าวของราคาแพงขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “หมู” และอาหารการกิน  ซึ่งทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ   ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องดีในภาวะปกติถ้ามีเงินเฟ้อนั้นแสดงว่าเศรษฐกิจมีการหมุนเวียน  มีการจับจ่ายใช้สอย   ไม่ใช่เหมือท่านนายกที่ว่าเงินเฟ้อทำให้ของแพง (ขำไม่ออก)  เพราะข้อเท็จจริงคือของแพงทำให้เงินเฟ้อต่างหาก หุหุ....  

                แต่ที่ไม่ปกติก็คือเราจะเห็นว่ามีเงิน  น่าจะ / อาจจะฝืด  หรือไม่อย่างไร   ถ้าใช่ละก็หายนะกำลังมาเยือนซึ่งจะได้ขอขยายความแบบบ้านๆ  เพราะไม่ได้เป็นนักเศรษฐศาสตร์  ซึ่งก่อนอื่นต้องเข้าจำคำนยามของทั้ง  “เงินเฟ้อ” และ “เงินฝืด” ดังนี้

 เงินเฟ้อ (Inflation)  หมายถึง เหตุการณ์ที่ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง เรียกง่ายๆว่าของแพงขึ้นนั่นเอง   ซึ่งมีสาเหตุหลักๆสองประการ คือ

1. มีความต้องการสินค้า บริการ เพิ่มขึ้น  Demand–Pull Inflation  หรือเรียกแบบบ้านๆว่ามีคนอยากซื้อสินค้านั้นมากขึ้นนั่นเอง  ซึ่งก็เป็นเรื่องดีถ้าอัตราเงินเฟ้ออยู่พอประมาณ ซึ่งจะทำให้ห้างร้าน โรงงาน  เพิ่มกำลังผลิต   จ้างงาน  โอที ฯลฯ ทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียน  จีดีพีเติบโต

2. การที่ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น  Cost–Push Inflation  เช่นพลังงาน  น้ำมัน  ค่าแรง  ค่าขนส่ง ซึ่งทั้งหลายเหล่านี้มันสัมพันธ์กันทั้งสิ้น  และสาหตุอีกอย่างหนึ่งก็คือการที่สินค้าขาดแคลน หรือ วัตถุดิบขาดแคลน ก็ทำราคาสูงขึ้น   จนสุดท้ายแล้วหากผู้ผลิตไม่สามารถแบกรับต้นทุนได้(กำไรไม่คุ้มค่า)  ก็จะปรับราคาสินค้าและบริการนั้นนั่นเอง   

เงินฝืด  Deflation   ก็คือการที่สิ้นค้าและบริการราคาลดต่ำลง  เนื่องจากผลิตมากกว่าการขายนั่นเอง หรืออีกนัยแบบบ้านๆก็คือตามชื่อเรยครับ  ไม่มีเงินจับจ่ายใช้สอยอันเนื่องมาจากตกงาน  ไม่มีโอที   รายได้ลดลง ฯลฯ  นอกจากนี้แม้ว่ารายได้อาจจะไม่ได้ลดลงแต่ความเชื่อมั่นของผู้ซื้อลดลง  ก็จะทำให้ไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย เช่นไม่เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจจะดี  โบนัสเงินเดือนน่าจะได้น้อย  หรือไม่ได้  หรือยิ่งแย่ไปกว่านั้นลดลง  หรือในภาวะสงคราม  เกิดภัยพิบัติต่างๆ  ทำให้ผู้คนจับจ่ายใช้สอยกันนั่นเอง

แต่ถ้าภาวะเกิดขึ้นทั้งเฟ้อและฝืดด้วย  ก็คือเงินก็น้อยของก็แพงละก็ผมขอให้ชื่อว่า ภาวะ “เรอเหม็นเปรี้ยว”  คือเป็นภาวะที่กลืนไม่เข้าคลายไม่ออกบอกไม่ถูก  อธิบายได้ตามภาพที่อยู่ด้านบนนี้


                ซึ่งเป็นภาพคำอธิบายและนิยามแบบไม่ใช่นักเศรษฐศาตร์นะครับ  ผมพยายามจะอธิบายสิ่งที่เกินขึ้นในเดือนมกราคม 2565  นั้นก็คือของทุกอย่างแพงหมด  อาหาร พลังงาน  ค่าใช้จ่ายอื่นๆ    แต่ในเวลาเดียวกันเงินในกระเป๋ามีเท่าเดิมหรือน้อยลง   อันเนื่องมาจากไม่ได้เพิ่มเงินเดือน(แต่ยังมีงานทำ ได้รับเงินเดือนตรงเวลา) หรือแย่ไปกว่านั้นก็ตกงาน  ทำมาค้าขายได้เงินน้อยลงวนเป็นลูกโซ่  โบนัสไม่ได้หรือได้น้อยลง  โอทีไม่มีหรือมีน้อยลง ฯลฯ   ทำให้ขาดความเชื่อมันดังได้กล่าวไว้ในตอนต้น แถมของยังมาแพงอีก  ก็เลยยิ่งจับจ่ายใช้สอยน้อยลงก็เลยยิ่งทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ  หรือถดถอยนั่นเอง

                ก็ต้องหวังพึ่งรัฐบาลในการแก้ปัญหานี้อย่างรวดเร็วเพราะยิ่งปล่อยไปนาน  ผู้คนก็จะยิ่งขาดความเชื่อมั่นก็ยิ่งซ้ำเติมเศรษฐกิจของประเทศไปอีก   อันนี้ก็ต้อเวทแอนด์ซีว่านายกและผู้เกี่ยวข้องจะทำอย่างไร   ขออย่างเดียวอย่างแนะนำให้เราเลี้ยหมูบ้านละ 2 ตัว ก็พอ....เพราะไก่ที่เลี้ยงไว้  กับ ผักชีที่ปลูกไว้ มันไม่พอกินครับ ..ท่าน !!!

               

               

วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2565

เกณฑ์ประเมินสมาคมกีฬาจังหวัด


 

เกณฑ์ประเมินสมาคมกีฬาจังหวัด

23 ธันวาคม 2564

ตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ.2558  ลงวันที่ 20 มีนาคม 2558 ที่ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ในมาตรา ๖๔ กำหนดให้มีการจัดตั้งสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดเพื่อเป็นการส่งเสริมการกีฬาของจังหวัดนั้น  และในมาตรา 65 นั้นกำหนดให้สมาคมกีฬาสามารถรับสมัครสมาชิก  จากชมรม สโมสร องค์กร หรือบุคคลทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมกีฬา  ซึ่งอยู่ในวัตถุประสงค์ของสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดนั้นๆ  ซึ่งก็มีลักษณะคล้ายๆกันโดยมีวัตถุประสงค์หลักในการส่งเสริม พัฒนา  การกีฬาของจังหวัดนั้นๆนั่นเอง

โดยมีงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนพัฒนากีฬา  โดยในปี 2563 จัดสรรให้รวม  67 ล้านบาทเศษ  โดยจัดสรรตามคะแนนประเมินที่แต่ละสมาคมได้รับ  โดยจังหวัดที่ได้มากที่สุดคือ จ.ตรังได้รับ 1.239 ล้านบาท และจังหวัดที่ได้น้อยสุดคือ จ.กาญจนบุรีได้รับ  0.376 ล้านบาทเท่านั้น และมีงบดำเนินงานของคณะกรรมการสมาคมกีฬาจังหวัดละ 1.5 แสนบาทเท่าๆกัน  ทั้งนี้โดยมีเกณฑ์ในการพิจารณาซึ่งได้มีการปรับเปลี่ยนอันเนื่องมาจากสถานการณ์โควิดในปี 2564  โดยเป็นไปตามมติที่ประชุมเมื่อ 16 กย. 2564 ตามตารางนี้

การประเมินสมาคมกีฬาจังหวัด ปี 2564

 

 

หลักเกณฑ์

เดิม

ปรับปรุง

การบริหารจัดการ

35

65

การพัฒนานักกีฬาและบุคลากรกีฬา

15

15

การพัฒนานักกีฬา

15

0

การจัดการแข่งขัน/กิจกรรมกีฬา

10

0

ผลสำเร็จจากการแข่งขัน

15

0

การมีส่วนร่วมและระบบสวัสดิการ

10

20

รวม

100

100

                ซึ่งในส่วนของผู้เขียนเองมีข้อคิดเห็นในเกณฑ์การประเมินว่าน่าจะนำองค์ประกอบอื่นๆมา   เพื่อเพิ่มเติมในส่วนการพิจารณางบจัดสรร   ดังนี้

                1.จำนวนประชากรในจังหวัด  ในจังหวัดที่มีประชากรมากๆย่อมต้องการงบประมาณในการพัฒนาส่งเสริมมากกว่าจังหวัดที่มีประชากรน้อย  แต่ก็ต้องถ่วงดุลย์ด้วยรายได้ต่อหัวของประชากร หรือ ขนาดเศรษฐกิจในข้อถัดไป

                2.จีดีพีต่อหัวของจังหวัดนั้นๆ เพราะการที่ประชาชนมีรายได้ย่อมมีผลต่อการ ชมกีฬา สนับสนุนกีฬาและธุรกิจการค้าของบริษัทในท้องถิ่ม

                3.จำนวน หรือ ขนาด ของอุตสาหกรรม และ  การค้า  ธุรกิจ ของจังหวัดนั้น  เพราะภาคธุรกิจจะมีส่วนสำคัญในการให้การสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมกีฬา  และ รายได้ของประชาชนในจังหวัดนั้นๆ

                4.ผลการแข่งขันคงไม่ได้คิดคำนวนแค่เหรียญรางวัล  เพราะเราต้องยอมรับว่าจังหวัดใหญ่ๆใช้เงินรางวัลเป็นตัวสร้างแรงจูงใจให้นักกีฬาเก่งๆ หรือนักกีฬาทีมชาติมาอยู่ด้วย  จะต้องใช้เกณฑ์ในเรื่องการพัฒนาทักษะและผลสัมฤทธิ์ในการแข่งขัน  เช่น กีฬาที่มีสถิติ  ก็ใช้เกณฑ์การทำลายสถิติของจังหวัดเป็นต้น

                และส่วนสุดท้ายหากต้องการพัฒนากีฬาแห่งชาติจริงๆและลดความเหลื่อมล้ำของจังหวัดที่มีงบสนับสนุนมาก / น้อย ต่างกัน   ในเรื่องนักกีฬานั้นควรจะเล่นให้จังหวัดที่มีเกณฑ์ดังนี้   จังหวัดบ้านเกิดตามสูติบัตร    จังหวัดที่เคยศึกษาเล่าเรียนไม่น้อยกว่า 3 ปี     จังหวัดที่ทำงานอยู่ในปัจจุบันไม่น้อยกว่า 3 ปี (จำนวนปีแล้วแต่พิจารณา  เพราะเกณฑ์การใช้ทะเบียนบ้านไม่ได้บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ที่แท้จริงของบุคคลเพราะย้ายไปอยู่บ้านใครก็ได้ให้ครบตามเกณฑ์นั่นเอง 

 

ขายรัย...ทำไมเราอิน (มาก)

                                                   เครดิตภาพจาก "เฟสบุคไทรสุก"           สองอาทิตย์ก่อนไปเห็นน้องคนหนึ่งที่เป็...