วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2565

ฝึด เฟ้อ เรอเหม็นเปรียว

 


                ในที่สุดเราก็อยู่กับโควิด-19 มาครบ 2 ปี  เพราะการค้นพบโรคนี้ในเดือนธันวาคม 2562  และแพร่ระบาดสู่ประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญในเดือน มีนาคม   เมษายน  2563   แล้วก็ระบาดระลอก 1..2..3..4...และเข้าสู่ระลอก 5  ณ.บัดนาว   จากความกลัวแบบจิตตก   ก็เหลือแค่ความกลัวมาก และลดลงตามกาลเวลา  เพราะสุดท้ายแล้วเราก็ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน  หากมีหรือไม่มีทางป้องกันรักษาก็ตาม   นี่คือความดิ้นรนและปรับตัวเพื่อการอยู่รอดของมวลมนุษย์ชาติ  

                แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นสิ่งตกค้างและดำรงอยู่ที่ไม่ใช่ในทางสาธารณสุขก็คือ  “ปัญหาทางเศรษฐกิจ”  ที่แม้วันนี้จีดีพีของไทยเราจากตอนต้นปี 64 คาดว่าอาจจะติดลบ  แต่ตอนนี้เชื่อได้ว่าคงบวกนิดหน่อยตามประมาณการของผู้รู้ไม่ว่า ธปท. ศศก. ก็น่าจะอยู่ระหว่าง 1-2 เปอร์เซนต์     พอย่างเข้า 2565 มีปรากฏการณ์ที่ผิดปกติขึ้นในระบบเศรษฐกิจของไทย  นั่นก็คือข้าวของราคาแพงขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “หมู” และอาหารการกิน  ซึ่งทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ   ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องดีในภาวะปกติถ้ามีเงินเฟ้อนั้นแสดงว่าเศรษฐกิจมีการหมุนเวียน  มีการจับจ่ายใช้สอย   ไม่ใช่เหมือท่านนายกที่ว่าเงินเฟ้อทำให้ของแพง (ขำไม่ออก)  เพราะข้อเท็จจริงคือของแพงทำให้เงินเฟ้อต่างหาก หุหุ....  

                แต่ที่ไม่ปกติก็คือเราจะเห็นว่ามีเงิน  น่าจะ / อาจจะฝืด  หรือไม่อย่างไร   ถ้าใช่ละก็หายนะกำลังมาเยือนซึ่งจะได้ขอขยายความแบบบ้านๆ  เพราะไม่ได้เป็นนักเศรษฐศาสตร์  ซึ่งก่อนอื่นต้องเข้าจำคำนยามของทั้ง  “เงินเฟ้อ” และ “เงินฝืด” ดังนี้

 เงินเฟ้อ (Inflation)  หมายถึง เหตุการณ์ที่ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง เรียกง่ายๆว่าของแพงขึ้นนั่นเอง   ซึ่งมีสาเหตุหลักๆสองประการ คือ

1. มีความต้องการสินค้า บริการ เพิ่มขึ้น  Demand–Pull Inflation  หรือเรียกแบบบ้านๆว่ามีคนอยากซื้อสินค้านั้นมากขึ้นนั่นเอง  ซึ่งก็เป็นเรื่องดีถ้าอัตราเงินเฟ้ออยู่พอประมาณ ซึ่งจะทำให้ห้างร้าน โรงงาน  เพิ่มกำลังผลิต   จ้างงาน  โอที ฯลฯ ทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียน  จีดีพีเติบโต

2. การที่ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น  Cost–Push Inflation  เช่นพลังงาน  น้ำมัน  ค่าแรง  ค่าขนส่ง ซึ่งทั้งหลายเหล่านี้มันสัมพันธ์กันทั้งสิ้น  และสาหตุอีกอย่างหนึ่งก็คือการที่สินค้าขาดแคลน หรือ วัตถุดิบขาดแคลน ก็ทำราคาสูงขึ้น   จนสุดท้ายแล้วหากผู้ผลิตไม่สามารถแบกรับต้นทุนได้(กำไรไม่คุ้มค่า)  ก็จะปรับราคาสินค้าและบริการนั้นนั่นเอง   

เงินฝืด  Deflation   ก็คือการที่สิ้นค้าและบริการราคาลดต่ำลง  เนื่องจากผลิตมากกว่าการขายนั่นเอง หรืออีกนัยแบบบ้านๆก็คือตามชื่อเรยครับ  ไม่มีเงินจับจ่ายใช้สอยอันเนื่องมาจากตกงาน  ไม่มีโอที   รายได้ลดลง ฯลฯ  นอกจากนี้แม้ว่ารายได้อาจจะไม่ได้ลดลงแต่ความเชื่อมั่นของผู้ซื้อลดลง  ก็จะทำให้ไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย เช่นไม่เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจจะดี  โบนัสเงินเดือนน่าจะได้น้อย  หรือไม่ได้  หรือยิ่งแย่ไปกว่านั้นลดลง  หรือในภาวะสงคราม  เกิดภัยพิบัติต่างๆ  ทำให้ผู้คนจับจ่ายใช้สอยกันนั่นเอง

แต่ถ้าภาวะเกิดขึ้นทั้งเฟ้อและฝืดด้วย  ก็คือเงินก็น้อยของก็แพงละก็ผมขอให้ชื่อว่า ภาวะ “เรอเหม็นเปรี้ยว”  คือเป็นภาวะที่กลืนไม่เข้าคลายไม่ออกบอกไม่ถูก  อธิบายได้ตามภาพที่อยู่ด้านบนนี้


                ซึ่งเป็นภาพคำอธิบายและนิยามแบบไม่ใช่นักเศรษฐศาตร์นะครับ  ผมพยายามจะอธิบายสิ่งที่เกินขึ้นในเดือนมกราคม 2565  นั้นก็คือของทุกอย่างแพงหมด  อาหาร พลังงาน  ค่าใช้จ่ายอื่นๆ    แต่ในเวลาเดียวกันเงินในกระเป๋ามีเท่าเดิมหรือน้อยลง   อันเนื่องมาจากไม่ได้เพิ่มเงินเดือน(แต่ยังมีงานทำ ได้รับเงินเดือนตรงเวลา) หรือแย่ไปกว่านั้นก็ตกงาน  ทำมาค้าขายได้เงินน้อยลงวนเป็นลูกโซ่  โบนัสไม่ได้หรือได้น้อยลง  โอทีไม่มีหรือมีน้อยลง ฯลฯ   ทำให้ขาดความเชื่อมันดังได้กล่าวไว้ในตอนต้น แถมของยังมาแพงอีก  ก็เลยยิ่งจับจ่ายใช้สอยน้อยลงก็เลยยิ่งทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ  หรือถดถอยนั่นเอง

                ก็ต้องหวังพึ่งรัฐบาลในการแก้ปัญหานี้อย่างรวดเร็วเพราะยิ่งปล่อยไปนาน  ผู้คนก็จะยิ่งขาดความเชื่อมั่นก็ยิ่งซ้ำเติมเศรษฐกิจของประเทศไปอีก   อันนี้ก็ต้อเวทแอนด์ซีว่านายกและผู้เกี่ยวข้องจะทำอย่างไร   ขออย่างเดียวอย่างแนะนำให้เราเลี้ยหมูบ้านละ 2 ตัว ก็พอ....เพราะไก่ที่เลี้ยงไว้  กับ ผักชีที่ปลูกไว้ มันไม่พอกินครับ ..ท่าน !!!

               

               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขายรัย...ทำไมเราอิน (มาก)

                                                   เครดิตภาพจาก "เฟสบุคไทรสุก"           สองอาทิตย์ก่อนไปเห็นน้องคนหนึ่งที่เป็...