เกณฑ์ประเมินสมาคมกีฬาจังหวัด
23 ธันวาคม 2564
ตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ.2558 ลงวันที่ 20 มีนาคม 2558 ที่ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ในมาตรา ๖๔ กำหนดให้มีการจัดตั้งสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดเพื่อเป็นการส่งเสริมการกีฬาของจังหวัดนั้น และในมาตรา 65 นั้นกำหนดให้สมาคมกีฬาสามารถรับสมัครสมาชิก จากชมรม สโมสร องค์กร หรือบุคคลทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมกีฬา ซึ่งอยู่ในวัตถุประสงค์ของสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดนั้นๆ ซึ่งก็มีลักษณะคล้ายๆกันโดยมีวัตถุประสงค์หลักในการส่งเสริม พัฒนา การกีฬาของจังหวัดนั้นๆนั่นเอง
โดยมีงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนพัฒนากีฬา โดยในปี 2563 จัดสรรให้รวม 67 ล้านบาทเศษ โดยจัดสรรตามคะแนนประเมินที่แต่ละสมาคมได้รับ โดยจังหวัดที่ได้มากที่สุดคือ จ.ตรังได้รับ 1.239 ล้านบาท และจังหวัดที่ได้น้อยสุดคือ จ.กาญจนบุรีได้รับ 0.376 ล้านบาทเท่านั้น และมีงบดำเนินงานของคณะกรรมการสมาคมกีฬาจังหวัดละ 1.5 แสนบาทเท่าๆกัน ทั้งนี้โดยมีเกณฑ์ในการพิจารณาซึ่งได้มีการปรับเปลี่ยนอันเนื่องมาจากสถานการณ์โควิดในปี 2564 โดยเป็นไปตามมติที่ประชุมเมื่อ 16 กย. 2564 ตามตารางนี้
การประเมินสมาคมกีฬาจังหวัด ปี 2564 |
|
|
หลักเกณฑ์ |
เดิม |
ปรับปรุง |
การบริหารจัดการ |
35 |
65 |
การพัฒนานักกีฬาและบุคลากรกีฬา |
15 |
15 |
การพัฒนานักกีฬา |
15 |
0 |
การจัดการแข่งขัน/กิจกรรมกีฬา |
10 |
0 |
ผลสำเร็จจากการแข่งขัน |
15 |
0 |
การมีส่วนร่วมและระบบสวัสดิการ |
10 |
20 |
รวม |
100 |
100 |
ซึ่งในส่วนของผู้เขียนเองมีข้อคิดเห็นในเกณฑ์การประเมินว่าน่าจะนำองค์ประกอบอื่นๆมา เพื่อเพิ่มเติมในส่วนการพิจารณางบจัดสรร ดังนี้
1.จำนวนประชากรในจังหวัด ในจังหวัดที่มีประชากรมากๆย่อมต้องการงบประมาณในการพัฒนาส่งเสริมมากกว่าจังหวัดที่มีประชากรน้อย แต่ก็ต้องถ่วงดุลย์ด้วยรายได้ต่อหัวของประชากร หรือ ขนาดเศรษฐกิจในข้อถัดไป
2.จีดีพีต่อหัวของจังหวัดนั้นๆ เพราะการที่ประชาชนมีรายได้ย่อมมีผลต่อการ ชมกีฬา สนับสนุนกีฬาและธุรกิจการค้าของบริษัทในท้องถิ่ม
3.จำนวน หรือ ขนาด ของอุตสาหกรรม และ การค้า ธุรกิจ ของจังหวัดนั้น เพราะภาคธุรกิจจะมีส่วนสำคัญในการให้การสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมกีฬา และ รายได้ของประชาชนในจังหวัดนั้นๆ
4.ผลการแข่งขันคงไม่ได้คิดคำนวนแค่เหรียญรางวัล เพราะเราต้องยอมรับว่าจังหวัดใหญ่ๆใช้เงินรางวัลเป็นตัวสร้างแรงจูงใจให้นักกีฬาเก่งๆ หรือนักกีฬาทีมชาติมาอยู่ด้วย จะต้องใช้เกณฑ์ในเรื่องการพัฒนาทักษะและผลสัมฤทธิ์ในการแข่งขัน เช่น กีฬาที่มีสถิติ ก็ใช้เกณฑ์การทำลายสถิติของจังหวัดเป็นต้น
และส่วนสุดท้ายหากต้องการพัฒนากีฬาแห่งชาติจริงๆและลดความเหลื่อมล้ำของจังหวัดที่มีงบสนับสนุนมาก / น้อย ต่างกัน ในเรื่องนักกีฬานั้นควรจะเล่นให้จังหวัดที่มีเกณฑ์ดังนี้ จังหวัดบ้านเกิดตามสูติบัตร จังหวัดที่เคยศึกษาเล่าเรียนไม่น้อยกว่า 3 ปี จังหวัดที่ทำงานอยู่ในปัจจุบันไม่น้อยกว่า 3 ปี (จำนวนปีแล้วแต่พิจารณา เพราะเกณฑ์การใช้ทะเบียนบ้านไม่ได้บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ที่แท้จริงของบุคคลเพราะย้ายไปอยู่บ้านใครก็ได้ให้ครบตามเกณฑ์นั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น