วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2566

เทศกาล ..สำราญใจ

 


เทศกาล  ..สำราญใจ

20  ธันวาคม 2566

                ผมเขียนบทความนี้ในวันก่อนวันตรุษจีน และวันงานวิ่งบุรีรัมย์มาราธอน  1 วัน เพราะเห็นว่ามีมุมมองที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ   โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่เศรษฐกิจตกสะเก็ดรัฐบาลต้องการการกระตุ้นหรือทำให้ประชาชนจับจ่ายใช้สอย  อันจะมีผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เรียกว่า “จีดีพี”   ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าในบางช่วงก็มีการเพิ่มวันหยุดพิเศษเพื่อให้ประชาชนเดินทางท่องเที่ยว  และจับจ่ายใช้สอยจนในแต่ละปีเราจะมีวันหยุดซึ่งรวมเสาร์อาทิตย์แล้ว   120+   วันทีเดียวคิดเป็นถึง  32.87 % ต่อปี

                แต่ว่าในช่วงเทศกาลตรุษจีนก็จะมีความพิเศษตรงที่เป็นเทศกาลที่ก่อให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย  มากกว่าเทศกาลอื่นๆเพราะว่ามีทั้ง  การซื้อของเพื่อไห้วเจ้า  การเดินทางไปพบบรรพบุรุษ  การมอบเงินพิเศษที่เรียกว่าแตะเอีย  การซื้อของขวัญให้กัน ฯลฯ  และเมื่อมาผนวกกับ  “บุรีรัมย์มาราธอน 2023”  เข้าไปด้วยแล้ว  ก็เรียกได้ว่าทำให้เมืองบุรีรัมย์นั้นคึกคักเป็นพิเศษ

                ขอย้อนกลับมาเทศกาลตรุษจีนก่อนว่าในปี 2566  นี้ทางศูนย์วิจัยกสิกรได้ให้ข้อมูลว่า   เฉพาะคนกรุงเทพ  จะมีเม็ดเงินจับจ่ายใช้สอยถึง  12,330 ล้านบาท หรือขยายตัวราว 5.0%  ซึ่งนับว่าขยายตัวน้อยมากแม้ว่าจะเปิดให้ทำกิจกรรมต่างๆอย่างไม่มีข้อจำกัดเพราะโควิดแล้วก็ตาม  ทั้งนี้เพราะว่าเม็ดเงินในกระเป๋าของประชาชนและความมั่นใจในรายได้ในอนาคตยังมีคำถามอยู่   จึงใช้จ่ายอย่างระมัดระวังนั่นเอง

                นอกจากนี้แล้วการที่จีนประกาศเปิดประเทศและอนุญาติให้คนจีนเดินทางไปต่างประเทศได้ทำให้  อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย (ซึ่งพึ่งนักท่องเที่ยวจีน ไม่น้อยกว่า 40 เปอร์เซนต์ )  คาดหว่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาถึง 588,900 คน  เรียกได้ว่า ประมาณ 6 แสนคน สร้างรายได้รวมประมาณ 21,296   เห็นตัวเลขแล้วก็ชื่นใจแต่ก็ต้องดูระยะยาวว่าจะยืนได้แบบนี้ไปถึงสิ้นปีหรือไม่

                ย้อนกลับมาที่ว่า  “เทศกาล.....สำราญใจ”  ที่จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจนั้น  เราสามารถแบ่งได้เป็นสองลักษณะดังนี้

                1.เทศกาลที่อมีอยู่แล้ว  เช่น  ประเพณี  วัฒนธรรม  เทศกาลที่มีอยู่แล้ว     ตัวอย่างคือ ตรุษจีน  สงกรานต์  ออกพรรษา  ลอยกระทง  แต่สิ่งเหล่านี้ก็จะพบได้ว่า  จะมีหลายหน่วยงาน หลายจังหวัด  ที่จัดงานวัฒนธรรมประเพณีเหล่านี้  นั่นหมายความว่าแต่ละแห่งก็ต้องไปแย่งชิงลูกค้าให้มาร่วมงานที่จังหวัดของตน   ลอยกระทงก็จะช่วงชิงกันระหว่าง   สุโขทัย  กับ เชียงใหม่เป็นหลัก  หรืออาจจะรวมอยุธยา เป็นต้น    ทำให้คนไม่ไหลมารวมกันที่งานใดงานหนึ่ง    ผมเคยไปที่ประเทศญี่ปุ่นแต่จำเมืองไม่ได้แล้วซึ่งเป็นเมืองไม่ใหญ่มีเทศกาลที่เอาเจ้าที่อยู่ในศาลมาขึ้นขบวนแห่   แต่.......เค้าให้คนที่มาร่วมงานได้มีส่วนร่วมและประสบการณ์ในงานอย่างลึกซึ่ง  เพราะปกติแล้วเราไปดูเทศกาลในลักษณะนี้ก็จะยืนดูเฉยๆ  หรือมีส่วนร่วมบ้าง   แต่งานนี้ทางผู้จัดงานได้จัดทำเชือกที่ใช้ลากจูงขบวนแห่ซึ่งถ้าทำเส้นยาวๆก็คงมีค่า 2-4 เส้น   ประชาชน+นักท่องเที่ยวก็เข้าร่วมได้น้อยคน    ดังนั้จึงได้ขยายแตกแขนงออกเป็นร้อยๆแขนงคล้ายๆกับก้างปลา   เพื่อให้ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการลากจูงอัญเชิญเทพเจ้านี้     ที่สำคัญ.......เมื่อเสร็จสิ้นจะมีเจ้าหน้าที่มาตัดท่อนเชือกส่วนที่เราจับและใช้ลากจูงนั้นให้นำกลับไปบูชาที่บ้านอีกด้วย   จะทิ้งก็ไม่กล้าทิ้งกลัวเทพจะมาเข้าฝันเลยต้องนำกลับมาและวางไว้บนหิ้งพระจนถึงทุกวันนี้  .......ดังนั้นผู้จัดงานอาจมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างสรรค์ให้นักท่องเที่ยวได้มีประสบการณ์ในลักษณะนี้  และเอามูเตลูมาเป็นเครื่องมืออีกทางหนึ่ง

2.เทศกาลที่สร้างขึ้น   เราจะเห็นได้ว่าหลายๆหน่วยงาน  ไม่ว่าจะเป็นจังหวัด   เทศบาล หรือ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ  ก็ได้มองเห็นถึงมูลค่าทางเศรษฐกิจจึงได้พยายามคิดหาทาง   สร้างเทศกาลต่างๆขึ้นเพื่อดึงนักท่องเที่ยว   เช่น  เทศกาลกินปลาทูของจังหวัดสมุทรสงคราม       งานดอกไม้งามเชียงรายซึ่งปีนี้จัดเป็นครั้งที่19  แล้ว      และที่จะนำเสนอเทศกาลที่กลายเป็นตำนานของบุรีรัมย์ .  คือ    “บุรีรัมย์มาราธอน ครั้งที่ 7  “ ซึ่งผมได้ไปเข้าร่วม  ในครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 7 นี้ด้วย  สำหรับปี  2566 นี้  มีนักวิ่งต่างชาติเข้าร่วมถึง   46 ชาติร่วมจำนวน (เฉพาะต่างชาติ)    1,063 คน รวมนักวิ่งไทยเข้าไปก็กว่า 27,000 คน    และคาดว่าหลังจากจบงานนี้แล้วบุรีรัมย์มาราธอน   จะได้รับมาตรฐานระดับเหรียญทอง (Gold Label ) รายการแรกของไทย   และจะเป็นไนท์รันแรกของโลกที่ได้รับการรับรองในระดับนี้     นอกจานี้แล้วจะมีอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกกว่า 5,345 คน ผู้ติดตามนักวิ่งและกองเชียร์ชาวจังหวัดบุรีรัมย์ รวมแล้วไม่น้อยกว่า   45,867 คน   ทำให้จะมีสื่อประชาสัมพันธ์ประเทสไทย  และ บุรีรัมย์ไปทั่วดลก   ที่สำคัญไปกว่านั้นจะมีกระแสเงินหมุนเวียนทางเศรษฐกิจจากการจัดการแข่งขัน 531,947,798.30 บาท   และในอนาคตเชื่อว่า  “ทางลุงเน”  จะพัฒนาได้ไปเทียบเคียงกับ  โตเกียวมาราธอน /  บอสตันมาราธอน  ในอาคต


 ก่อนกลับไปทานกาแฟร้านหนึ่งที่อยู่ใกล้สนามบิน  มีแคปชั่นเด็ดๆของ  “ลุงเน”  ที่ผมอยากนำมาเล่าให้ฟังเพื่อที่ผู้นำในทุกระดับจะได้นำไปปรับใช้กับองค์กรของท่านต่อไปในอนาคต

"แม้พระเจ้าไม่ได้ให้ภูเขาบุรีรัมย์แบบเขาใหญ่ พระเจ้าไม่ได้ให้ทะเลบุรีรัมย์แบบหัวหิน แต่พระเจ้าให้มันสมองคนบุรีรัมย์มา... ผมเชื่อว่า Resource is limited, Creativity is unlimited   ฉนั้น ด้วยมันสมอง ด้วยวิธีคิด ด้วยกำลังความสามัคคีของคนในบุรีรัมย์ เราน่าจะช่วยกันสร้างให้เมืองบุรีรัมย์เป็นเมืองท่องเที่ยว"  

                คารวะ   3  จอก  ครับ  “ลุงเนวิน”   อ้อ ....ช่วยไปบอก  “ลุงตู่”  ด้วยนะครับ  55555.....

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขายรัย...ทำไมเราอิน (มาก)

                                                   เครดิตภาพจาก "เฟสบุคไทรสุก"           สองอาทิตย์ก่อนไปเห็นน้องคนหนึ่งที่เป็...