**** กิจการงานใดที่จะทำให้สำเร็จ ต้องมีพันธมิตร และทีมงาน ในธุรกิจก็เช่นกัน ก็มีหลายวิธีในการแสวงหาความร่วมมือทางธุรกิจ****
นิรนามเคยกล่าวไว้ว่า : if you want to go fast, go alone; if you want to go far, go together?
การหาพันธมิตรทางธุรกิจเป็นทางเลือกหนึ่ง เพื่อสร้างความเชี่ยวชาญและเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรโดยการนำเอาทรัพยากรและดวามเชี่ยวชาญของพันธมิตรทางธุรกิจ มาบูรณาการให้เกิดประโยชน์
สูงสุดในรูปแบบความร่วมมือ และการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน
***พันธมิตรทางธุรกิจ* ** หมายถึง ความร่วมมือระหว่างสององค์กรขึ้นไป โดยตกลงร่วมมือกันในการนำ ประสบการณ์ เงินทุน เทคดนโลยี่ ความเชี่ยวชาญ มาแลกเปลี่ยน หรือมาร่วมมือในการสร้างผลิตภัณฑ์ หรือ องค์กรใหม่ในการที่จะดำเนินธุรกิจร่วมกัน ทั้งในระยะสั้นหรือระยะยาวและเป็นการต่อเนื่องก็ได้
สามารถแบ่งลักษณะความร่วมมือได้ 3 ประการ คือ
1. ความร่วมมือทางการตลาด อาทิ การแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร และการใช้ช่องทางการตลาด
ร่วมกัน เพื่อพัฒนาสื่อการโฆษณาและส่งเสริมการขายร่วมกัน รวมถึงการนำเสนอตราสินค้าร่วมกัน (Brand X Brand )
เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ที่กว้างมากยิ่งขึ้น เป็นตัน รวมถึงการทำกิจกรรมการตลาดร่วมกัน
2. ความร่วมมือด้านการผลิต ทั้งอาจจะแลกเปลี่ยนข้อมูล เทคโนโลยี่ กระบวนการผลิต หรือ รับจ้างผลิตก็ได้ เช่น ขณะนี้พวกอาหารเสริม และเครื่องสำอางค์ทั้งหลาย เซเลบทั้งหลายก็ไม่มีโรงงานผลิตจะเป็นการจ้างผลิตโดยอาศัยสูตร เครื่องจักร ฯลฯ ของผู้รับจ้างซึ่งผลิตให้กับหลายๆแบรนด์สินค้า ในขณะที่เซเลบนั้นมีชื่อเสียง มีคนติดตามในสื่อโซเชียล มีช่องทางในการสื่อสาร โฆษณา ประชาสัมพันธ์ และช่องทางจัดจำหน่าย เป็นต้น
3. ความร่วมมือต้านการวิจัยและพัฒนา สำหรับส่วนนี้ในประเทศไทยมักจะเป็นระหว่างหน่วยธุรกิจกับองค์กรอของรัฐหรือมหาวิทยาลัยต่างๆ เพราะองค์กรธุรกิจในประเทศไทยเองมีหน่วยงานวิจัยเองน้อยมากๆยกเว้นธุรกิจขนาดใหญที่มีทั้งงบประมาณและทรัพยากรในการดำเนินการดังกล่าว ส่วนองค์กรขนาดเล็กก็มักจะอยู่ในลักษณะของการพัฒนาสินค้าไปตามองค์ความรู้ ประสบการณ์ และความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ
วัตถุประสงค์ของการความร่วมมือทางธุรกิจ
1. การเติบโตของกิจการ (Growth) ซึ่งจะทำให้เกิดพลังในด้านการขาย เพิ่มยอดขาย เพราะอาจจะเป็นลักษณะของการการแชร์ฐานแฟนคลับ ของทั้งสองแบรนด์ และยังช่วยสะท้อนภาพของการเป็นผู้นำ หรือนวตกรรมของทั้งสององค์กรได้ และประการสุดท้ายเป็นการสร้างสีสันผ่านกิจกรรมทางการตลาด ตลอดทำให้เกิดช่องทางการขายใหม่ๆ ตัวอย่างที่น่าสนใจเช่น โอวัลติน ร่วมมือกับนมตรามะลิ ขนมปังฟาร์มเฮาส์ ไอศครีมวอลล์ นำผงโอวัลตินไปใส่ในผลิตภัณฑ์ทั้งสามเป็นการเพิ่มยอดขาย และพันธมิตรก็มีผลิตภัฑณ์รสชาดใหม่ๆในท้องตลาด หรือการที่ อาริกาโตะร่วมมือดยการนำเอาเอ็ม150 มาผสมในเครื่องดื่มของอาริกาโตะ ก็เป็นการเปลี่ยนโพสิชั่นนิ่งของเอ็ม 150 หรือ แสวงหาฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ๆอีกด้วย
2.สร้างผลตอบแทนทางธุรกิจ ( Profitability) ความร่วมมือบางครั้งก็สามารถทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ หรือ ภูมิภาคใหม่ เช่น ธนาคารกรุงเทพ เข้าซื้อกิจการของ ธนาคารเปอร์มาตา ของอินโดนีเซียโดยใช้เงินถึง 8 หมื่นกว่าล้านบาททำให้ได้ฐานลูกค้าอินโดนีเซียซึ่งมีประชากรมากถึง 280 ล้านคน และเศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเปอร์มาตามีลูกค้ารายย่อย ลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและลูกค้าองค์กร รวมกว่า 3.5 ล้านราย ทำให้การลงทุนสามารถรับรู้ผลกำไรได้ทันที่ อีกทั้งยังทำให้ฐานะของธนาคารกรุงเทพมั่นคงยิ่งขึ้น
3.ประหยัดเวลา และเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน (Saving time and increasing staff productivity ) เป็นการอาศัยความสามารถในการแข่งขันของแต่ละองค์กรมาสนับสนุนซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดผลผลิต หรือ ประสิทธิภาพการผลิตที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการประหยัดต้นทุนอีกทางหนึ่งด้วย
4.คุณภาพของสินค้า และ งานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้น (Quality of work output ) การนำเอาประสบการณ์ ตลอดจนเทคนิกไม่ว่าจะทางด้านการผลิต การบริหารจัดการ ประสบการณ์มาแบ่งปันทำให้คุณภาพของงานและผลลิตนั้นมีคุณภาพที่เพิ่มสูงขึ้น
5.เพื่อร่วมเสริมสร้างนวตกรรม (Innovation ) เป็นการเพิ่มนวตกรรมในทุกกระบวนการเพราะแต่ละองค์กรก็มีความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกันออกไป และยังเป็นการมุมมองและวิสัยทัศน์ใหม่ๆที่เกิดจากกการกระตุ้นการเรียนรู้ร่วมกัน เช่นเอซซีแอสเส็ท ร่วมมือกับอสังหาริมทรัพย์ญี่ปุ่น โตเกียว ทาเทโมโน ซึ่งเป็นเสริมแกร่งทั้ง ทุน องค์ควารู้เพราะโตเกียวทาเคโมโน เป็นบริษัทที่มีประสบการณ์ยาวนานถึง 126 ปี และยังเชี่ยวชาญในทุกเซ้กเมนท์ และเชื่อได้ว่าจะได้ฐานลูกค้าที่เป็นชาวญี่ปุ่นอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น