เครดิตภาพ “โมโน 29 ”
กระแสดราม่าช่วงสองวันที่ผ่านมาคือบริษัทใหญ่บริษัทหนึ่งยื่นโนติส 102 ล้านบาท กับร้านแบบบ้านๆในต่างจังหวัด และอ้างถึงเครื่องหมายการค้า / ลิขสิทธิ์ ของ “ปังชา” ที่ตนเองได้จดทะเบียนไว้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีที่ได้ดำเนินการจดทะเบียนไว้ แต่การมุ่งที่จะไปฟ้องร้อง หรือเรียกร้องเงินทอง ถึง 102 ล้านบาทจากร้านที่ชื่อร้านคือ “ปังชา” ที่จังหวัดเชียงราย ที่เป็นร้านแบบบ้านๆโอเพ่นแอร์ดู และอีกร้านหนึ่งทางภาคใต้ จนเป็นกระแสดราม่าในสังคม รถทัวร์จอดร้านปังชาเจ้าใหญ่ที่เป็นฝ่ายฟ้องร้อง จนต้องออกมาชี้แจงว่าเข้าใจผิด สื่อสารคลาดเคลื่อน ขอโทษ และถ้ามีเวลา(จะพูดคำนี้ทำไม)จะไปขอโทษร้านทั้งสองด้วยตนเอง กรณีนี้มีเรื่องที่ต้องตั้งข้อสังเกตุดังนี้
1.ร้านดังมีสิทธิในการฟ้องร้องหรือไม่ คำตอบ มีสิทธิแต่ว่าไม่ใช่ในกรณีนี้ ต้องเป็นกรณีที่ร้านอื่นทำเลียนแบบ หรือ ก้อปปี้ เครื่องหมายการค้า ซึ่งทั้งสองร้านนั้นไม่ใกล้เคียงเรย
2.สมมุติว่าถ้ามีสิทธิ (แต่ในกรณีนี้ไม่มีสิทธิ) แบบว่ามีคนก้อปปี้ เลียนแบบ แล้วเป็นร้านแบบบ้านๆ จะฟ้องถึง 102 ล้านหรือไม่ ?? ร้านที่ถูกฟ้องต้องขายกี่สิบชาติถึงมีรายได้ 102 ล้านบาท ตรงนี้เลยทำให้รถทัวร์มาแวะจอดมากเป็นพิเศษ แล้วที่สุดของที่สุดคือ ร้านใหญ่นี้ 5 ปีย้อนหลังกำไรแค่ สองปี 4 ล้านกว่า กับ 29 ล้านกว่าบาท ทำให้ภาพยิ่งดูแย่ลงไปอีก เพราะเท่ากับกำไรบริษัท 3-4 ปีเรยไม่ต้องค้าขายก็รวยได้
3.การสื่อสารของเจ้าของร้านที่ออกรายการทีวีช่อง 3 นั้น “ไม่เนียน ต้องไปเรียนมาใหม่” เพราะการชี้แจงครั้งแรกบอกว่า “ทางร้านขออภัยที่มีการสื่อสารและทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนทางร้าน ขอน้อมรับทุกคำติชม คำแนะนำ และจะปรับปรุง พัฒนาทั้งในการสื่อสาร การบริการ สินค้า ต่อไป” ซึ่งชี้แจงแบบไม่ชี้แจง
พอเจอคำถามว่าใจดำหรือเปล่าฟ้องถึง 102 ล้าน กลับตอบว่า “ ไม่ได้ฟ้องนะคะ ไม่ได้มีเจตนาที่จะฟ้องใคร ไม่สามารถที่จะไปฟ้องร้องเขาได้ แต่ทั้งหมดในโนติสที่เขียนไป 102 ล้านบาท เป็นเรื่องของเครื่องหมายการค้า ดูแบบอย่างในการให้ความสำคัญมาจากต่างประเทศ แก้มเลยให้ค่ากับอันนั้น ก็เป็นความผิดพลาดของทางเรา ต้องขอโทษจริงๆ ค่ะ”
ไม่ได้ฟ้องแต่ก็เตรียมฟ้องแหละคือการยื่นโนติสไปขนาดนั้น ถ้าไม่ประสงค์ฟ้องจะระบุตัวเงินไปทำไม หรือให้ทนายความยื่นโนติสไปทำไม แค่โทรไปก็ได้ขอให้งดใช้คำว่า “ปังชา” (ซึ่งจริงๆแล้วไม่มีสิทธิไปให้ร้านอื่นใช้คำนี้)
การดำเนินธุรกิจทุกวันนี้เราจะเห็นมีคำสองคำที่มักจะนำมาใช้ในทางที่จะกระตุ้นเตือนจิตสำนึก และความรับผิดชอบ ในการดำเนินธุรกรรมต่างๆขององค์กรอยู่สองคำ คือ คำว่า ธรรมาภิบาล และ บริษัทภิบาล ซึ่งหลักการและแนวคิดตลอดจนวัตถุประสงค์นั้นค่อนข้างคล้ายกันอย่างมาก ซึ่งคำว่าธรรมาภิบาลนั้นใช้ในองค์กรภาครัฐ ส่วน บรรษัทภิบาลใช้กับหน่วยงานเอกชน ซึ่งบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์นั้นถูกำหนดให้ทุกบริษัทนั้นต้องมีธรรมาภิบาล ซึ่งครอบคลุมในห้าหัวข้อหลักๆ เพราะสิ่งต่างๆเหล่านี้จะช่วยให้องค์กรนั้นสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตนเอง และสังคมได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน การดำเนินธุรกิจเพื่อผลประโยชน์ตนเองและไม่เหลียวแลสังคมนั้นอาจอยู่ได้ในระยะสั้นเพราะทุกวันนี้ผู้บริโภคไม่เพียงแต่ต้องการสินค้าทีดีมีคุณภาพ ตรงกับความต้องการแต่เพียงอย่างเดียว ยังแสวงหาสินค้า / องค์กร ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ซึ่งหลักการของบรรษัทภิบาลตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยครอบคลุม 5 ด้าน ดังต่อไปนี้
1.ความซื่อสัตย์ (Integrity) คือ การบริหารจัดการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตน่าเชื่อถือ และยึดมั่นในความถูกต้อง
2. ความยุติธรรม (Fairness) คือ การปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียขององค์กรอย่างเป็นธรรม
3.ความโปร่งใส (Transparency) คือ การดำเนินงานที่มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและสามารถตรวจสอบได้
4. ความรับผิดชอบ (Responsibility) คือ การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของตนด้วยสติปัญญาและความสามารถอย่างเต็มกำลัง มุ่งมั่นให้งานสำเร็จและพัฒนางานให้ดีขึ้น
5.ภาระรับผิดชอบ (Accountability) คือ ความรับผิดและรับชอบในผลของการกระทำที่เกิดขึ้น อันเนื่องจากการกระทำ การสั่งการ การมอบหมาย และการตัดสินใจ ตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง โดยสามารถชี้แจงและอธิบายการตัดสินใจนั้นได้
ซึ่งในกรณีดรามา “ปังชา” นี้ คงอยู่ในหัวข้อง ความยุติธรรม และ ภาระรับผิดชอบนั่นเอง สมควรเป็นกรณีศึกษาทั้งทางด้าน นิติศาสตร์ บริหารธุรกิจ และ การตลาดที่น่าสนใจกรณีหนึ่ง กว่าจะได้มิชิลินไกด์ 4 ปีซ้อนใช้เวลาหลายปี แต่ชื่อเสียงหายไปชั่วข้ามคืนแล่ “สื่อสารผิดพลาด” กระนั้นหรือ ????
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น