วันอังคารที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2567

“ธุรกิจเวลเนส เฮ็ดอย่างไรเด้อ ?? “ 31 มีนาคม 2567

“ธุรกิจเวลเนส  เฮ็ดอย่างไรเด้อ ??

31 มีนาคม 2567

            ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ที่จัดอันดับในเดือน มิ.ย. 2566 ที่ผ่านมา  โดยสถาบัน IMD (International Institute for Management Development)   ได้จัดอันดับความสามารถในการแข่งขัน (World Competitiveness Ranking) ของไทยดีขึ้นจากอันดับที่ 33 ในปีก่อนมาอยู่อันดับที่ 30 ในปีนี้จากทั้งหมด 64 ประเทศ   ซึ่งแม้จะดีขึ้นแต่ก็คงต้องยอมรับความสามารถของประเทศไทยกำลังสูญเสียความสามารถในการแข่งขันไปอย่างช้าๆ    อันอาจจะเนื่องมาจากปัญหาการเมืองในประเทศที่เกือบ 20 ปีจมปลักกับ ทักษิณและการปฏิวิติรัฐประหาร      จากจำนวนประชากรและอัตราการเกิดและตายซึ่งค้นพบว่าสามปีที่ผ่านมา  2564-2566 ประชากรไทยลดลงทั้งสามปี  คือมีคนตายมากกว่าคนเกิด   จนเป็นเหตุให้รัฐบาลต้องกำหนดเป็นวาระแห่งชาติว่า “มีลูกกันเถอะ”  ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานและยังมีภาระในการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นในทุกๆปีเป็นสำคัญ

            หากมองในแง่การผลิตและอุตสาหกรรมแล้วต้องยอมรับว่าเราสูญเสียความสามารถในการแข่งขันไปอย่างมีนัยสำคัญ  โดยดูได้จากอัตราการเติบโตและความเชื่อมั่น  และ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม หรือ Manufacturing Production Index (MPI) คือ ดัชนีสะท้อนค่า GDP ในภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ ที่แสดงถึงความถดถอยเป็นลำดับ   แต่มีดัชดีและอุตสหาหกรรมบางประเภทที่ยังเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ  

            คำตอบถูกต้องแล้วครับ  คือ  “อุตสาหกรรมท่องเที่ยว”   ซึ่งในปี 2567 ช่วงสามเดือนแรก 1 มกราคม-10 มีนาคม 2567 พบขณะนี้ไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเที่ยวไทยทะลุ 7.4 ล้านคนแล้ว สร้างรายได้ ประมาณ 359,273 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าในปี 2568 เราจะมีนักท่องเที่ยวเท่าๆกับก่อนสถานการณ์โควิดคือในปี  2562 ที่เรามีนักท่องเที่ยวเฉียดๆ 40 ล้านคน  ซึ่งหากมองให้ลึกลงไปอีกก็จะค้นพบว่าการท่องเที่ยวนั้น   เป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรม “Wellness Industry” หรืออุตสาหกรรมความงามและการดูแลสุขภาพ  แต่ผมจะใช้คำว่า  “อุตสาหกรรมแห่งความสุข”  Wellness = Well being = Happyness    ซึ่งสถาบัน  Global Wellness Institute (GWI) รายงานว่าปี 2568 มีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเพื่อสุขภาพของทั้งโลก จะมีมูลค่าประมาณ 7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 230 ล้านล้านบาท  และอุตสาหกรรมนี้ยังแบ่งได้เป็น  9 อุตสาหกรรมย่อย 12 สาขา   ดังนี้

 


           

CR ภาพ : Global Wellness Institute

แล้วปัจจัยแห่งความสำเร็จของธุรกิจเวลเนสคืออะไร  โดยผมขอแบ่งออกเป็นสามส่วนคือ  ABS STRATEGY  คือ

            1.AWARENESS  &  ATTENTION  ซึ่งจำเป็นต้องใช้องค์ความรู้ทางด้านการตลาด  ในการสร้างการรับรู้ว่ามีอยู่ของธุรกิจและบริการของเรา  ด้วยเครื่องมือทางการตลาดต่างๆที่ตรงกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย   อีกทั้งสาร หรือ สื่อ นั้นๆจะต้องสร้างความน่าสนใจและหยุดลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้ดู  ฟัง  จดจำ  และสนใจ  ธุรกิจและบริการของเรา   เพราะทุกวันนี้มีสื่อมากมายที่ผ่านเข้ามาในโสตประสาทสัมผัสทั้ง 5   ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ  สื่อยูทูบ  อยากถามว่าใครดูโฆษณายูทูปจนจบบ้างซึ่งสื่อนี้ตรงกลุ่มเป้าหมายแน่นอน  แต่จะตรึงผู้ชมให้ดูจนจบและสนใจในสินค้านั้นคงต้องใช้มืออาชีพในการสร้างคอนเทนท์เพื่อหยุดผู้ชมในการ  “กดข้าม”

            2.BELIVE / TRUST  เมื่อสนใจแล้วไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม  ว่าสินค้าและบริการนั้นน่าเชื่อถือ  ธุรกิจเอสเอ็มอีส่วนใหญ่มีแต่   เฟสบุค  แฟนแพจ และไลน์  ขาดหน้าร้านที่จะสามารถสร้างความน่าเชื่อถือหรือให้ข้อมูลทางเทคนิค ฯลฯ  ที่จะทำให้ลูกค้าเชื่อ ศรัทธา และตัดสินใจได้  เพราะการมีเว็บไซท์  ที่อยู่  ที่ติดต่อได้อย่างเป็นทางการเปรียบเสมือนเรามีตัวตนจริงๆ  และในเว็บไซท์นั้นยังสามารถมีข้อมูลเพิ่มเติม   ภาพประกอบ  คลิปอธิบายความ   ข้อมูลลูกค้าเก่าที่เคยใช้บริการ  ฯลฯ ซึ่งจะทำให้ตัดสินใจเชื่อและศรัทธา  จนนำไปสู่การตัดสินใจซื้อในที่สุดได้

            3.SERVICE MIND  จิตบริการในที่นี้มิได้หมายความว่าสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามที่บริษัทกำหนด  แต่หมายถึงผู้ให้บริการนั้นสามารถเข้าใจความต้องการของลูกค้า ณ. ขณะนั้นๆได้  ตีความหมายบทสนทนา  และดูบริบทโดยรวมเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ  เช่น   คอลเซนเตอร์ของผู้ให้บริการโทรศัทพ์เคลื่อนที่รายหนึ่งตอบคำถามได้หมด  ให้ข้อมูลถูกต้อง  ในเวลาที่สมควร (แม้จะช้าไปบ้างเป็นส่วนใหญ่)      แต่ผู้ให้บริการอีกรายหนึ่งในหน้าจอคอมพิวเตอร์จะขึ้นข้อมูลว่าลูกค้าเพิ่งเดินทางไปอินโดนีเซียมา  ก่อนจบบทสนทนาก็สอบถามว่าที่เดินทางไปอินโดนีเซียสัญญาณการให้บริการโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ตเป็นอย่างไรบ้าง ??    โอ้ย..... เราจะปลื้มหรือไม่ครับ    หรือ หากเราไปใช้บริการสปาแล้วพนักงานซึ่งตามที่บริษัทกำหนดก็จะต้องบริการด้วยความสุภาพ   สุภาพเรียบร้อย  บริการครบทุกขั้นตอนอย่างเป็นมาตราฐานเดียวกัน   แต่  พนักงานที่สปาแห่งนี้จำได้ว่าข้อนิ้วเท้าเราจะต้องนวดเบาๆเพราะเราเป็น  “เก๊าต์”  ...... ก็สอบถามว่าหายหรือยังจะคงยังให้นวดเบาๆอยู่อีกหรือไม่ ??  อันนี้แหละ จะทำให้    “เก๊าต์ประทับใจ”  จน  ไปบอกต่ออย่างแน่นอน   .......อิอิ  ไม่เชื่อลองดู........

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

“ธุรกิจเวลเนส เฮ็ดอย่างไรเด้อ ?? “ 31 มีนาคม 2567

“ธุรกิจเวลเนส   เฮ็ดอย่างไรเด้อ ?? “ 31 มีนาคม 2567             ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ที่จัดอันดับในเดือน มิ.ย. 2566 ที่...