วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2552

“CHANGE MANAGEMENT”

ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันใครๆก็บอกว่าต้องปรับตัว ต้องเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส ซึ่งเราได้ยินกันมาจนหูชาแล้วแต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นตรงไหนซึ่งแท้จริงแล้วมนุษย์เราเองนั้นปรับตัวเพื่อความอยู่รอดมาตั้งแต่โบราณกาลแล้ว เพียงแต่ว่าเราไม่ได้รู้สึกและเอามาเรียบเรียงเป็นขั้นตอนเท่านั้นเอง ไม่อย่างนั้นเราคงสูญพันธ์ไปเหมือนไดโนเสาร์แล้วที่มนุษย์ยังคงดำรงอยู่เป็นชาติพันธุ์ได้เพราะเรามีการปรับตัวเองมาโดยตลอด เช่นเราต้องปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนร่วมงานที่มีนิสัยแตกต่างกันมาจากสิ่งแวดล้อมครอบครัวและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เราต้องใช้จ่ายให้พอเพียงกับรายได้ที่หามาได้ เมื่ออากาศหนาวเราก็ต้องหาเครื่องนุ่งห่มที่บรรเทาความหนาวเย็นได้ ฯลฯ สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นการปรับตัวทางสังคมศาสตร์ แต่จากภาวะทางเศรษฐกิจที่ถดถอย(RECESSION) ในปัจจุบันที่เกิดขึ้นทั่วโลกเราซึ่งในที่นี้หมายถึงทั้งตัวบุคคลและองค์การทางธุรกิจทั้งหลายจะต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดกันได้อย่างไร แน่นอนว่าทุกคงคาพยพต้องปรับตัวเองเพื่อความอยู่รอดอันเป็นธรรมชาติและสัญชาติญาณของมนุษย์ซึ่งเป็นผู้บริหารจัดการองค์กรอยู่แล้ว แต่จะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการปรับตัวนั้นหรือไม่ก็คงขึ้นอยู่กับประสบการณ์ วิสัยทัศน์ และที่สำคัญอีกสองอย่างคือทัศนคติและความร่วมมือของบุคคลากรในองค์กรนั้นเป็นสำคัญ ผมเลยลองเอาตัวอักษร CHANGE ซึ่งเป็นคำที่ทางบารัคโอบามาใช้ในการรณรงค์หาเสียงมาลองเทียบเคียงเป็นอักษรตัวแรกของคำที่เป็นหลักในการปรับเปลี่ยนในครั้งนี้โดยเราจะเริ่มจาก
C = Challenge ซึ่งคือความท้าทาย เราจะต้องนำวิกฤติอันนี้ไปสื่อสารกับบุคลากรในองค์กรว่ามันเป็นความท้าทาย ว่าเราจะแปรวิกฤติเป็นโอกาสได้หรือไม่ เพรามนุษย์นั้นชอบความท้าทายและอยากเอาชนะเราจะต้องปลุกเร้าทุกคนให้หันมาสู้ มาปรับเปลี่ยนตัวเอง องค์กร เพื่อที่เราจะได้ผ่านพ้นวิกฤติไปร่วมกัน อย่าเอาแต่พร่ำบ่นและท้อแท้ยิ่งเจ้านายท้อแท้เท่าไหร่ลูกน้องก็ยิ่งท้อแท้ไปอีกหลายเท่าแล้วองค์กรจะฝ่าวิกฤติไปได้อย่างไร เหมือทหารที่จะไปออกรบแม่ทัพมัวแต่บนว่าออกไปคงไม่ได้กลับมาแน่แล้วจะมีกำลังใจรบได้อย่างไร มันต้องปลุกเร้าและสร้างกำลังใจให้หึกเหิมเพื่อจะประสบชัยชนะคือการผ่านพ้นช่วงแห่งความเลวร้ายในครั้งนี้ไป”ด้วยกัน”
H =Habbit คืออุปนิสัยซึ่งถ้าเป็นอุปนิสัยถาวรเค้าเรียกว่า สัน.....นั่นเอง เราลองมาทบทวนอุปนิสัยที่ดีและไม่ดีกัน หรืออุปนิสัยที่ควรทำหรือไม่ควรทำในภาวะวิกฤตินี้ ได้ดูรายการโอปรา วินฟรี ทางเคเบิลทีวีเค้านำครอบครัวหนึ่งที่มีอุปนิสัยในการใช้จ่ายอย่างคุ้มค่า (ไม่ใช่ขี้เหนียวนะ) ไปอยู่กับครอบครัวหนึ่งเพื่อแนะนำการดำรงชีวิตที่คุ้มค่าทุกวันหลังจากกลับมาบ้านทุกคนในครอบครัวจะต้องมาจดแจ้งรายการค่าใช้จ่ายที่คุ้มค่า และที่ฟุ่มเฟือย(หรือไม่จำเป็นเท่าที่ควร) พอครบเดือนก็ลองรวบรวมตัวเลขดูปรากฏว่ารายการที่ไม่คุ้มค่า ฟุ่มเฟือย หรือยังไม่จำเป็นเท่าที่ควรนั้นคิดเป็นมูลค่าประมาณเกือบ 40 เปอร์เซ็นต์ทีเดียว เป็นเทคนิคง่ายๆที่อนุญาตให้เลียนแบบได้ ในองค์กรละเราลองมาดูกันว่าเราจะเปลี่ยนอุปนิสัยเพื่อทำให้องค์กรเพิ่มประสิทธิภาพได้หรือไม่ ลองดูที่พนักงานขายจากเดิมที่ไม่ได้วางแผนการเข้าพบลูกค้าเดินทางสะเปะสะปะนึกอยากนัดใครก็นัด หรืออยากไปเยี่ยมลูกค้ารายได้ก็ไปโดยไม่ได้วางแผนไว้แต่ถ้าหากว่าเราลองมาดูซิว่าในละแวกเดียวกันนั้นมีลูกค้าอยู่ใกล้กันวางแผนไปเยี่ยมครั้งหนึ่งให้ได้จำนวนลูกค้ามากขึ้นได้หรือไม่ หรือบางบริษัทมีข้อบังคับว่าพนักงานขายต้องเข้ามาที่บริษัททุกเช้า แต่ถ้าจากบ้านพนักงานไปเยี่ยมลูกค้าได้เลยซึ่งใกล้กว่าและประหยัดทั้งค่าน้ำมันและเวลาจะมิดีกว่าจะยึดถือระเบียบเป็นที่ตั้ง แถมตอนเย็นยังให้พนักงานกลับมาทำรายงานที่บริษัทอีกท่านอาจจะแย้งว่ากลัวพนักงานอู้งาน หรือกลับบ้านก่อนเวลา ก็อาจจะเป็นได้ถ้าพนักงานขาดความรับผิดชอบแต่ถ้าเราเอาผลสัมฤทธิ์เป็นที่ตั้งแล้วมาวัดผลจะดีกว่าหรือไม่ ที่สำคัญท่านสอนลูกน้องด้วยใจและความรับผิดชอบ หรือว่าด้วยอำนาจและกฎเหล็กเอาไว้ขังมิให้พนักงานคิดเป็นแค่ทำตามกฎแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้นก็เป็นอุปนิสัยที่คงต้องให้ทบทวน
A=Attitude คือทัศนคติ เราจะต้องแปรเปลี่ยนทัศคติในเชิงลบให้เป็นทัศนคติในทางบวก ให้คิดว่าวิกฤติครั้งนี้ถึงแม้จะแสนสาหัสแต่ว่าเราจะต้องอยู่รอดให้ได้ และถ้าให้ดีต้องรอดอย่างบาดเจ็บน้อยที่สุด อย่าหดหู่จนไม่ทำอะไรเลย หรือหากเป็นบุคคลที่ตกงานประกอบกับหนี้สินมากมายทำให้คิดสั้นก็ต้องเสริมสร้างทัศนคติในทางบวกว่าเราต้องอยู่รอดปลอดภัยแม้จะบาดเจ็บสาหัสก็ตาม ไม่ยอมตายอย่างง่ายๆ มีมหาเศรษฐีชาวเยรมันคนหนึ่งร่ำรวยเป็นอันดับห้าของเยรมันพยายามฆ่าตัวตายไม่ใช่สาเหตุจากธุรกิจล้มละลายนะ เพียงแค่กิจการบางกิจการซึ่งคิดเป็นมูลค่าทรัพย์สินของเค้าแค่ 10 กว่าเปอร์เซ็นต์เท่านั้นเองอีก 80 กว่าเปอร์เซนต์ยังดำเนินธุรกิจไปได้ด้วยดี ซึ่งไม่รู้สุดท้ายจะตายหรือเปล่า แสดงว่ามีทัศนคติในเชิงลบอย่างรุนแรงและไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงนั้น (ซึ่งในทางพุทธแล้วถือเป็นอนิจจังนั่นเอง)
N=Network คือการมีเพื่อน มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น กับองค์กรอื่นๆเพื่อช่วยเหลือกันหรืออาจจะให้ข้อมูลข่าวสารที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปรับตัวในครั้งนี้ ลองดูนะครับหากบริษัทที่นำเข้าสินค้าซึ่งปัจจุบันนี้เกือบทุกบริษัทมีสินค้าค้างสต๊อกอยู่มากแถมราคายังตกลงทุกวัน ลองมองดูเพื่อนหรือพันธมิตรซิครับแลกเปลี่ยนสินค้ากันได้หรือไม่ทั้งๆที่เดิมเคยเป็นคู่ต่อสู้กัน ก็จะช่วยให้แต่ละคนลดปริมาณสต๊อกสินค้าลงซึ่งอาจจะขาดทุนไปบ้างโดยขายในราคานำเข้าตามตลาด(ไม่ใช่ราคาทุน) แต่สินค้าได้ระบายออกเพื่อที่เราจะได้ซื้อสินค้าใหม่เข้ามาหมุนเวียนได้ เรียกว่ายอมขาดทุนกันละโดยเราก็ได้สินค้าในราคาตลาดจากคู่แข่งขันมาซึ่งไม่ได้ต้องนำเข้าที่ละมากๆ สั่งแค่พอใช้เดือนหรือสองเดือนก็พอเป็นต้น
G=Goal การจะทำอะไรให้สำเร็จนั้นเราต้องมีเป้าหมายและเป้าหมายที่ดีที่สุดก็คือเป้าหมายที่เราร่วมกันตั้งขึ้น ไม่ใช่ว่าเป็นเป้าหมายที่ฝ่ายบริหารสั่งการ หากเราให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการวางเป้าหมายในครั้งนี้ร่วมกันก็จะช่วยให้การดำเนินการนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นเพราะพนักงานมีส่วนร่วมนั้นเอง โดยฝ่ายบริหารอาจจะให้กรอบนโยบายและให้พนักงานมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย และแนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม ซึ่งก็จะได้รับความร่วมมือในการปฏิบัติตามมากกว่าเพราะเป็นแนวทางที่พนักงานมีส่วนร่วมนั่นเอง และตัวสุดท้าย
E=Enhancement คือการยกระดับ หรือการทำให้ดีเพิ่มเติมขึ้น เหมือนกับที่ในโฆษณาจำไม่แล้วว่าโฆษณาอะไรที่บอกว่า “อีกนิดนะ...” ซึ่งหมายถึงว่าแม้ว่าบางสิ่งบางอย่างเราจะได้ทำหรือได้ปฏิบัติอยู่แล้ว เราสามารถทำได้เพิ่มหรือเติมหรือดีกว่าอีกนิดนึงได้เสมอ เพราะตราบใดที่เราคิดว่าเราดีแล้วเราเยี่ยมแล้ว เราเก่งแล้ว เราจะไม่มีโอกาสพัฒนาเพิ่มเติมอีก อย่าบอกกับตัวเองและลูกน้องว่า “เอาไว้ก่อน” ให้บอกว่า “เราทำได้ดีกว่าที่เป็นอยู่ “ “ลุยเลยพวกสู้โว้ย....................”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขายรัย...ทำไมเราอิน (มาก)

                                                   เครดิตภาพจาก "เฟสบุคไทรสุก"           สองอาทิตย์ก่อนไปเห็นน้องคนหนึ่งที่เป็...