วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555
ดูไบที่ไปมา
ผมเคยเขียนแตะถึงดูไบครั้งหนึ่งเมื่อเดือนมกราคม ปี 2552 ตอนนั้นการท่องเที่ยวดูไบเพิ่งเริ่มบูม เพราะวิสัยทัศน์ของดูไบนั้นตอบโจทย์ว่าจะเป็น WORLD PLAYGROUND ENTERTAINMENT แถมตอนนี้อดีตผู้นำของเราก็ไปพำนักแบบกึ่งถาวรอยู่ในดูไบเสียด้วย เลยทำให้คนไทยรู้จักดูไบมากยิ่งขึ้น พอดีช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมาได้มีโอกาสพาบุพการี และ ครอบครัวไปเที่ยวดูไบ ซึ่งหลายๆคนถามก่อนไปว่าไม่ร้อนแย่หรือ เพราะเรายึดติดว่าเมืองทะเลทรายต้องร้อน ร้อน และร้อน ใครเลยจะเชื่อว่า กลางทะเลทรายผมถอดรองเท้าเดินเท้าเปล่าเพราะว่าทรายมันเข้ารองเท้า ทั้งที่ทัวร์บอกให้เอารองเท้าแตะไปด้วยแต่ด้วยความขี้เกียจก็เลยไม่ได้เอาไป แถมตอนกลางคืนซักประมาณหนึ่งทุ่มได้พอเริ่มรับประทานอาหารท่านอาจจะไม่เชื่อว่าทรายนั้นเย็นพอสมควรทีเดียว ทั้งๆที่ยังไม่ดึกนี่ถ้าหากดึกไม่ทราบว่าอุณหภูมิจะเป็นเท่าไหร่ เพราะเดินทางกลับมานอนในเมือง ก็เรียกได้ว่าเข็มขัดสั้นคือหมายถึงคาดไม่ถึงนะครับพี่น้อง
ผู้บริหารดูไบทราบดีว่าน้ำมันมีวันหมดไม่วันใดก็วันหนึ่ง (บางคนคาดว่า 100 ปี ) ไม่นานเลยครับแค่สองหรือสามชั่วอายุคนเท่านั้นเอง แล้วประเทศที่ไม่มีทรัพยากรอะไรเลย ปลูกอะไรก็ไม่ได้จะอยู่ได้อย่างไรหากขาดน้ำมัน วิสัยทัศน์ของเจ้าผู้ครองนครดูไบ ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดรัฐของสหรัฐอาหรับอีมิเรสต์ จึงต้องการนำเงินรายได้ที่มีอยู่มาสร้างสิ่งที่จะเป็นจุดขายของประเทศ เพื่อคนรุ่นต่อไปแต่ว่าด้วยการลงทุนที่มากเกินตัวไปทำให้มีปัญหาในการชำระหนึ้ ขนาดมีเงินจากการขายน้ำมันวันหนึ่งไม่รู้กี่พันหรือกี่หมื่นล้านบาทนะครับลองคิดดูเล่นถ้าขุดน้ำมันมาขายได้ 1 ล้านบาเรล ก็ประมาณ 100 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา หรือ 3,000 ล้านบาท ถ้า 5 ล้านบาเรลก็ 15,000 ล้านบาท อะไรจะมากประมาณนั้นกับพลเมืองท้องถิ่นแค่ 1.5 ล้านคน การสร้างสิ่งต่างๆไม่ว่าจะตึกสูงที่สุดในโลก 160 ชั้น 828 เมตร ศูนย์การค้าที่มีพื้นที่มากที่สุดในโลก พร้อมกับลานเล่นสกีเล่นได้จริงๆด้วย ดูเอานะครับเพราะเล่นไม่เป็นเกาะขอบกระจกดูน้ำลายห้อยเลย โรงแรมแอตเลนติสที่ใหญ่โตมโหราฬแถมมี่ที่พักผ่อนหย่อนใจสวนน้ำให้เล่นอยู่ในบริเวณเดียวกัน ก็คล้ายกับสวนสยามบ้านเราแต่อเมสซิ่งกว่าเพราะเวลาดิ่งลงมาจากสไลเดอร์แล้วจะผ่านอุโมงค์ที่ผ่านลอดอความเรียมอีก แถมสถานที่ตั้งของโรงแรมก็คือยอดของเดอะปาล์มที่ถมทะเลทำเป็น บ้านพักตากอากาศ ที่คนดังทั้งหลายรวมทั้งนายกดูไบของเราก็อยู่ที่นั่นด้วย แต่หลายสิ่งหลายอย่างที่นี่ก็สร้างไว้แต่ถ้าในมุมมองของนักเศรษฐศาสตรือาจไม่คุ้ม เช่น สนามแข่งฟอร์มูล่าวัน แต่ก็ถือได้ว่าเรียกแขกได้พอสมควรที่เดียว รวมทั้งการแสดงน้ำพุเต้นระบำที่สวยงานประทับใจ พอดีเดินผ่านร้านอาหารร้าหนึ่งรู้สึกว่าจะชื่อ DEAN & DELUCA ซึ่งตั้งอยู่บนชั้นสามของห้าง DUBAI MALL มีเทอเรสตั้งโต๊ะอาหารได้ประมาณ 20-30 ที่นั่ง ที่มุมของห้องอาหารนั้นมองลงไปดูน้ำพุเต้นระบำ MUSIC FOUNTAIN ที่เปิดแสดงวันละ 4-5 รอบ แค่รอบละ 3 นาที (น้อยไปหน่อย) เลยเดินเข้าไปถามเขาว่ามีที่นั่งริมหน้าต่างตรงที่การแสดงหรือไม่ ซึ่งตอนแรกไม่ทราบว่ามีมุมเทอเรสออกไปพอดีกับมุมสวยๆ เลยทราบว่ามีบริการตรงเทอเรสแต่ต้องสั่งอาหารอย่างต่ำท่านละ 70 เหรียญดูไปก็ประมาณ 700 บาท ปกติก็ต้องกินอาหารอยู่แล้วเลยเลือกบริหารร้านนี้เลย สุดยอดมุมและบรรยากาศยามเย็นเลยครับสวยงามประทับใจทุกๆท่านจริงๆ แถมอาหารที่บริการก็เรียกได้ว่าเป็นแบบฟิวชั่น ประมาณว่ามีนักออกแบบและตกแต่งอาหารเลยละตามชื่อร้านซึ่งเข้าใจเอาว่าเป็นคนสองคนที่เป็นเจ้าของและดีไซน์ แบบและอาหารรวมทั้งมีซุปเปอร์เล็กๆอยุ่ในร้านขายสิ่งละอันพันละน้อยพร้อมทั้งหนังสือแนะนำการทำอาหารแน่นอนชื่อหนังสือว่า DEAN & DELUCA อีกอย่างหนึ่งที่เคยเล่าให้ฟังว่ามีน้ำเปล่าขวดละ 1,000 บาทขายนั้นชื่อ H2O วันนั้นได้เจอตัวจริงเสียงจริงขวดจริงจึงขอลูบเล่นเป็นบุญมือ น้ำเปล่าอะไรจะประมาณนั้นแพงชะมัดยาดเลย สรุปว่าเขาขายขวดเพราะที่ขวดมีสวารอฟสกี้ติดอยู่เลยแพงเป็นพิเศษ
ไปซื้อบัตรเข้าอควาเรียมเขามีขายตั้งแต่ราคา 70,85,100 เหรียญ โดยมีแต่ละราคาก็ได้เข้าชมสถานที่ที่เพิ่มขึ้นพร้อมทั้งคูปองซื้อของที่ระลึกของดูไบอควาเรียม และคนที่ซื่อ 75 ไม่ค่อยมีครับเพราะเพิ่มอีกนิดเดียว ก็ได้ชม LOST WORLD ฯลฯ เพิ่มขึ้น ถ้าซื้อบัตร 100 เหรียญ ก็จะได้นั่งเรื่องท้องกระจกชมรอบควาเรียมอีก เวลาสั้นแม้ไม่มีอะไรมากแต่ไม่เคยดู ไม่เคยเล่น ไม่เคยเห็น ก็ยอมจ่ายเพิ่มอีกคนละ 15 หรือ 20 เหรียญตามลำดับ พร้อมกับต้องเพิ่มตังซื้อของที่ระลึกอีกเพราะมีคูปอง คนละ 20 เหรียญดูไบอยู่แล้ว เรียกได้ว่าขายรวมเป็นแพคเกจ ลูกค้าเลยซื้อสิ่งที่ขายพ่วงมาโดยตั้งใจให้เขาหลอกเพราะคิดว่าได้กำไรมากกว่าแต่แท้จริงแล้วอควาเรียมได้กำไรเพิ่มมากขึ้น เพราะไม่ว่าจะมีคนดูเพิ่มหรือไม่เพิ่ม(จากการซื้อแพคเกจ) บริการเขาก็มีอยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว คนก็มีอยู่แล้ว เรียกได้ว่าอความเรียมมีแต่ได้กับได้ครับผม ก่อนจากดูไบที่สนาบบินร้านค้าปลอดอากรเขาน่าเดิน น่าซื้อ อะไรที่เขาขายถูกมันถูกจริงน้ำหอมบางยี่ห้อถูกว่าบ้านเราถึง 25 เปอร์เซ็นต์ (ทั้งที่เรามีบัตรลด 15 เปอร์เซ็นต์แล้วนะ) มีเรื่องเดียวที่ต้องตำหนิอย่างแรงและเป็นความภาคภูมิใจของ ตรวจคนเข้าเมืองของเราที่มี ตม.ดูไบห่วยแตกกว่าบ้านเรา ต้องมีการสแกน แถมแถวก็เป็นแบบแถวใครแถวมัน เห็นหางแถวมี 6 หางเราก็ต่อกันไปยาวเหยียดแต่ทำไมแถวเราขยับแล้วหยุดยาว แล้วขยับแล้วหยุดยาวสลับกันไป สุดท้ายถึงบางอ้อแถวนี้เขาสำหรับสุภาพสตรีแต่ประชาชนดันทำเป็นสองแถว คละกันไปมากว่าจะเคลียร์กันได้ก็เล่นเอาวัยรุ่นเซ้งไปเลยใช้เวลาเกือบสองชั่วโมง สแกนม่านตาเสร็จก็ไปต่อแถวเข้าประทับตราเข้าเมืองอีก เหมือนเดิมเป็นแถวใครแถวมันใครโชคดีตม.ทำงานเร็วก็โชคดีไปใครเจอปัญหาก็หยุดยาวไปรวมแล้วใช้เวลาในขั้นตอนนี้ รวมกันเกือบสามชั่วโมง ทำให้ ตม.ไทยดีใจที่มีบริการที่แย่กว่าสุดๆ แต่ในที่สุด ตม.ไทยก็ดวงตาเห็นธรรมเป็นแถวเดี่ยวคดเคี้ยวแบบงูแล้วกว่าจะเห็นธรรมเราก็กรรมเพราะต้องใช้บริการตม.ไทยเดือนละหนึ่งครั้งรอเข้าไปโยม ช้าๆได้พร้าเล่มงาม..............
วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555
“ใครคุมสื่อ?”
"ใครคุมสื่อ?"
ดร.พงษ์ศักดิ์ สวัสดิเกียรติ
ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ ม.เกษตรศาสตร์
กรรมการบริหารและผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ พิสิษฐ์กรุ๊ป
4 เมษายน 2555
เห็นจั่วหัวเป็นคำถามว่า “ใครคุมสื่อ?” ผมได้หมายถึงคำถามที่ว่า ใครมีหน้าที่ในการคุมสื่อแต่ผมหมายถึงว่า ใครคุมสื่อได้ก็จะกำหนดทิศทางในการรับข่าวสารที่เป็นไปตามนโยบาย หรือ กลยุทธ์ของหน่วยงาน หรือ องค์กรนั้นๆได้ จากปัจจุบันที่เราเห็นและต้องยอมรับความจริงกันว่ามีสื่อทั้งสื่อแท้ สื่อเทียม ซึ่งคงไม่ได้หมายถึงสื่อเทียมในทางการเมืองแต่เพียงอย่างเดียว สื่อเทียมในทางการตลาด การบริหารธุรกิจ ก็มีให้เห็นกันอยู่ตลอดเวลา ยังไม่มีการนับอย่างเป็นทางการว่าจำนวนช่องทีวีในประเทศไทยมีทั้งหมดกี่ช่อง แต่จากการประมาณการกันน่าจะมีไม่ต่ำกว่า 500 ช่อง เพราะทรูวิชั่นอย่างเดียวก็เกือบร้อยช่องแล้วครับ รวมเคเบิลทีวี และทีวีอินเตอรเน็ตเข้าไปน่าจะมากกว่า 500 เป็นแน่
ถ้ามามองสื่อการเมืองที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็ต้อง เอเอสทีวีของค่ายพันธมิตรฯ ทีวีคนเสื้อแดง นี่มีบลูสกายทีวีของประชาธิปัตย์เพิ่มเข้ามากอีก สู้กันตรงๆมีสื่อกันตรงๆไม่ต้องอ้อมค้อมเหมือนเมื่อก่อน แต่โดยส่วนตัวผมเชื่อว่า คนที่เสพสื่อที่ชัดๆอย่างสื่อการเมืองนั้นก็เป็นพวกฮาร์ดคอร์ของคนที่มีทัศนคติทางการเมืองแบบเดียวกัน ดังนั้นจึงไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทัศนคติมากนัก ไม่มีผลต่อคนที่อยู่ฝ่ายตรงกันข้ามหรือคนที่ไม่เลือกข้าง(แบบจริงๆ ไม่ใช่ไม่เลือกข้างแต่ปาก ) แต่จะมีผลต่อคนที่มีความโน้มเอียงไปทางสายนั้นๆอยู่บ้างหากฟังนานๆเข้าก็จะคล้อยตาม และหลงเชื่อไปในทีสุดนั่นเองเหมือนกับคำสุภาษิตโบราณที่ว่า “น้ำหยดลงหินทุกวัน หินมันยังกร่อน” นับประสาอะไรกับคนเราที่ฟังความอยู่ข้างเดียวโดยขาดวิจารณญาณและการวิเคราะห์ เรียกได้ว่าฟังอะไรมาเชื่อหมด หลงหมด รักหมด ดังนั้นการให้ความรู้และการฝึกฝนในเรื่องทักษะการฟังและคิดวิเคราะห์นับว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งสำหรับสังคมไทยในอีกยี่สิบปีข้างหน้า คือหมายความว่าคนรุ่นเก่าในปัจจุบันคงฝึกไม่ได้แล้วเรียกได้ว่าแก่จนดัดยาก คงต้องฝึกคนรุ่นใหม่รุ่นที่จะเข้าอนุบาลไปเลยหรือตั้งแต่พูดจำความได้ เพราะบางครั้งกว่าจะถึงอนุบาลก็สายเสียแล้วเหมือนกับหนังสือแปลเล่มหนึ่งในอดีตที่เคยกล่าวถึงพัฒนาการของเด็กว่า “กว่าจะถึงอนุบาลก็สายเสียแล้ว” หากท่านสนใจลองไปหาอ่านดูก็ได้นะครับ
ผ่านสื่อการเมืองเรื่องปวดหัวของสังคมไทยไปดีกว่าเพราะพอเริ่มกระบวนการปรองดองก็เริ่มสงครามปรองดอง (แล้วจะปรองดองได้หรือเปล่านี่) มาดูสิครับว่าในช่องทีวีเหล่านั้นมีช่องสื่อเทียมอยู่มากมายโดยเน้นแต่การขายของ ทั้งแบบขายตรงโดยไม่อ้อมค้อมหรือขายแบบแอบแฝงทำเป็นเชิญ คุณหมอ ผู้เชียวชาญ อาจารย์ บุคคลที่มีชื่อเสียง ฯลฯ มาร่วมสนทนาในรายการแล้วแฝงเรื่องการขายสินค้า หรือ ประชาสัมพันธ์สินค้าไปเลยก็มีให้เห็นกันอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมชนบทแล้วการมีผู้ที่เป็นที่เชื่อถือของสังคมมาให้ข้อมูลแล้วจะยิ่งเชื่อถือ และหลงผิดได้โดยง่าย เห็นชัดๆก็พวกขายของประมาณว่า ทีแอบแฝงเรื่องความเชื่อ หรือว่า พวกสุขภาพบำบัด ฯลฯ น้ำป้าเช็ง เป็นตัวอย่างที่คลาสสิคมากๆ ต้นทุนในการทำทีวีของป้าแกไม่กี่สตางค์แต่ฉายวนทั้งวันทั้งคืน คนดูไปดูมาเชื่อไม่เชื่อก็อาจจะลองละครับพี่น้อง หรือแม้แต่ว่าในปัจจุบันเราจะเห็นว่ามีโฆษณาแฝงทั้งแฝงแบบไม่น่าเกลียด เช่นการ PLACEMANT คือการที่นำสินค้าไปวางไว้เฉยๆ ในรายการต่างๆ หรือในละครประเภท ซิทคอม ลองดูช่วงเวลาข่าว หรือ รายการสนทนาวาไรตี้ประไร จะมีสินค้า หรือ ถ้วยกาแฟ ฯลฯ วางอยู่ทั้งที่ไม่เกี่ยวกับรายการ หรือเนื้อหาแต่เพียงอย่างใดทั้งสิ้น แล้วพวกละครซิทคอม ประเภท บางรักซอย 9 บ้านนี้มีรัก ฯลฯ พวกนี้จะเป็นเรื่องง่ายๆชาวบ้านๆ และต้องมีร้านขายของชำอยุ่ด้วยเพราะจะได้วางสินค้าไว้ได้มากๆชิ้น มากๆค่าย (แน่นอนก็จะได้รายได้เพิ่มมากขึ้นด้วย) ส่วนอีกประเภทหนึ่ง คือ TIE IN อันนี้จะเพิ่มดีกรีในการนำเสนอเข้าไปอีกเพราะตัวละครในเรื่องจะเอ่ยชื่อ หรือ มีการกล่าวถึง (ในแง่ดี) หรือ มีการหยิบจับ มีการใช้สินค้านั้นๆด้วย เรียกได้ว่า “เนียน” เพราะยิ่งเนียนเท่าไหร่ก็จะยิ่งเป็นคุณต่อสินค้ารายนั้นอย่างยิ่ง เช่น นานแล้วมีภาพยนตร์เรื่อง “เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย (ซีซันเชนจ์)” มีค่ายธนาคารกรุงศรีเป็นตัวนำ ในเรื่อง พระเอกนางเอก วัยรุ่นใช้บัตรเดบิตของธนาคาร งานประชุมในเรื่องก็มีป้ายแบคดร๊อป ของธนาคารกรุงศรี เรียกได้ว่า “สีเหลือง” เต็มจอ เต็มเรื่องเลยครับ
แต่ถ้าอยากคุมได้แบบเบ็ดเสร็จก็ต้องมีรายการเป็นของตนเองไปเลยเรียกได้ว่าเป็นคนผลิตรายการเอง ซึ่งหมายถึงเป็นเจ้าของรายการส่วนการผลิตจริงๆก็ต้องจ้างมืออาชีพหรือพิธีกร ทำให้สามารถคุม กำหนดทิศทางและข้อมูลข่าวสารได้อย่างที่ตนเองต้องการดีกว่าไปเป็นสปอนเซอร์เฉยๆ เช่นรายการ “เอสเอ็มอีตีแตก” ของค่ายกสิกรไทยเป็นต้น ก็เรียกได้ว่าเขียวกันไปทั้งรายการเลยครับ แล้วเดี๋ยวนี้หากต้องการให้สินค้าตัวเองเกิดถ้ามีแต่การโฆษณาแต่เพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอต้องอาศัยการคุมสื่อให้ได้ด้วย ผมมีเพื่อนคนหนึ่งเป็นเจ้าของสินค้าส่วนบุคคลประมาณว่า ผม ผิว สิว ขาว ไปซื้อเวลาทางทีวีช่องหนึ่งแล้วจ้างบริษัทผลิตละครซิทคอมขึ้นมาแล้วก็ดำเนินการ ทั้งโฆษณาตรง โฆษณาแฝงทั้งแบบแฝงธรรมดา แฝงเนียนๆ แถมดีไม่ดีถ้าขายโฆษณาเพิ่มทั้งในส่วนเวลาโฆษณาจริง และ รับสินค้าที่ไม่ขัดแย้งกันมาโฆษณาแฝงในรายการถ้ายายได้มากๆ กำไรอีกต่างหากเรียกว่าได้ทั้งขึ้นทั้งล่องเลย เห็นหรือยังครับว่า “ใครคุมสื่อได้ก็คุมทิศทางไปตามความต้องการของตนได้” W
ดร.พงษ์ศักดิ์ สวัสดิเกียรติ
ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ ม.เกษตรศาสตร์
กรรมการบริหารและผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ พิสิษฐ์กรุ๊ป
4 เมษายน 2555
เห็นจั่วหัวเป็นคำถามว่า “ใครคุมสื่อ?” ผมได้หมายถึงคำถามที่ว่า ใครมีหน้าที่ในการคุมสื่อแต่ผมหมายถึงว่า ใครคุมสื่อได้ก็จะกำหนดทิศทางในการรับข่าวสารที่เป็นไปตามนโยบาย หรือ กลยุทธ์ของหน่วยงาน หรือ องค์กรนั้นๆได้ จากปัจจุบันที่เราเห็นและต้องยอมรับความจริงกันว่ามีสื่อทั้งสื่อแท้ สื่อเทียม ซึ่งคงไม่ได้หมายถึงสื่อเทียมในทางการเมืองแต่เพียงอย่างเดียว สื่อเทียมในทางการตลาด การบริหารธุรกิจ ก็มีให้เห็นกันอยู่ตลอดเวลา ยังไม่มีการนับอย่างเป็นทางการว่าจำนวนช่องทีวีในประเทศไทยมีทั้งหมดกี่ช่อง แต่จากการประมาณการกันน่าจะมีไม่ต่ำกว่า 500 ช่อง เพราะทรูวิชั่นอย่างเดียวก็เกือบร้อยช่องแล้วครับ รวมเคเบิลทีวี และทีวีอินเตอรเน็ตเข้าไปน่าจะมากกว่า 500 เป็นแน่
ถ้ามามองสื่อการเมืองที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็ต้อง เอเอสทีวีของค่ายพันธมิตรฯ ทีวีคนเสื้อแดง นี่มีบลูสกายทีวีของประชาธิปัตย์เพิ่มเข้ามากอีก สู้กันตรงๆมีสื่อกันตรงๆไม่ต้องอ้อมค้อมเหมือนเมื่อก่อน แต่โดยส่วนตัวผมเชื่อว่า คนที่เสพสื่อที่ชัดๆอย่างสื่อการเมืองนั้นก็เป็นพวกฮาร์ดคอร์ของคนที่มีทัศนคติทางการเมืองแบบเดียวกัน ดังนั้นจึงไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทัศนคติมากนัก ไม่มีผลต่อคนที่อยู่ฝ่ายตรงกันข้ามหรือคนที่ไม่เลือกข้าง(แบบจริงๆ ไม่ใช่ไม่เลือกข้างแต่ปาก ) แต่จะมีผลต่อคนที่มีความโน้มเอียงไปทางสายนั้นๆอยู่บ้างหากฟังนานๆเข้าก็จะคล้อยตาม และหลงเชื่อไปในทีสุดนั่นเองเหมือนกับคำสุภาษิตโบราณที่ว่า “น้ำหยดลงหินทุกวัน หินมันยังกร่อน” นับประสาอะไรกับคนเราที่ฟังความอยู่ข้างเดียวโดยขาดวิจารณญาณและการวิเคราะห์ เรียกได้ว่าฟังอะไรมาเชื่อหมด หลงหมด รักหมด ดังนั้นการให้ความรู้และการฝึกฝนในเรื่องทักษะการฟังและคิดวิเคราะห์นับว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งสำหรับสังคมไทยในอีกยี่สิบปีข้างหน้า คือหมายความว่าคนรุ่นเก่าในปัจจุบันคงฝึกไม่ได้แล้วเรียกได้ว่าแก่จนดัดยาก คงต้องฝึกคนรุ่นใหม่รุ่นที่จะเข้าอนุบาลไปเลยหรือตั้งแต่พูดจำความได้ เพราะบางครั้งกว่าจะถึงอนุบาลก็สายเสียแล้วเหมือนกับหนังสือแปลเล่มหนึ่งในอดีตที่เคยกล่าวถึงพัฒนาการของเด็กว่า “กว่าจะถึงอนุบาลก็สายเสียแล้ว” หากท่านสนใจลองไปหาอ่านดูก็ได้นะครับ
ผ่านสื่อการเมืองเรื่องปวดหัวของสังคมไทยไปดีกว่าเพราะพอเริ่มกระบวนการปรองดองก็เริ่มสงครามปรองดอง (แล้วจะปรองดองได้หรือเปล่านี่) มาดูสิครับว่าในช่องทีวีเหล่านั้นมีช่องสื่อเทียมอยู่มากมายโดยเน้นแต่การขายของ ทั้งแบบขายตรงโดยไม่อ้อมค้อมหรือขายแบบแอบแฝงทำเป็นเชิญ คุณหมอ ผู้เชียวชาญ อาจารย์ บุคคลที่มีชื่อเสียง ฯลฯ มาร่วมสนทนาในรายการแล้วแฝงเรื่องการขายสินค้า หรือ ประชาสัมพันธ์สินค้าไปเลยก็มีให้เห็นกันอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมชนบทแล้วการมีผู้ที่เป็นที่เชื่อถือของสังคมมาให้ข้อมูลแล้วจะยิ่งเชื่อถือ และหลงผิดได้โดยง่าย เห็นชัดๆก็พวกขายของประมาณว่า ทีแอบแฝงเรื่องความเชื่อ หรือว่า พวกสุขภาพบำบัด ฯลฯ น้ำป้าเช็ง เป็นตัวอย่างที่คลาสสิคมากๆ ต้นทุนในการทำทีวีของป้าแกไม่กี่สตางค์แต่ฉายวนทั้งวันทั้งคืน คนดูไปดูมาเชื่อไม่เชื่อก็อาจจะลองละครับพี่น้อง หรือแม้แต่ว่าในปัจจุบันเราจะเห็นว่ามีโฆษณาแฝงทั้งแฝงแบบไม่น่าเกลียด เช่นการ PLACEMANT คือการที่นำสินค้าไปวางไว้เฉยๆ ในรายการต่างๆ หรือในละครประเภท ซิทคอม ลองดูช่วงเวลาข่าว หรือ รายการสนทนาวาไรตี้ประไร จะมีสินค้า หรือ ถ้วยกาแฟ ฯลฯ วางอยู่ทั้งที่ไม่เกี่ยวกับรายการ หรือเนื้อหาแต่เพียงอย่างใดทั้งสิ้น แล้วพวกละครซิทคอม ประเภท บางรักซอย 9 บ้านนี้มีรัก ฯลฯ พวกนี้จะเป็นเรื่องง่ายๆชาวบ้านๆ และต้องมีร้านขายของชำอยุ่ด้วยเพราะจะได้วางสินค้าไว้ได้มากๆชิ้น มากๆค่าย (แน่นอนก็จะได้รายได้เพิ่มมากขึ้นด้วย) ส่วนอีกประเภทหนึ่ง คือ TIE IN อันนี้จะเพิ่มดีกรีในการนำเสนอเข้าไปอีกเพราะตัวละครในเรื่องจะเอ่ยชื่อ หรือ มีการกล่าวถึง (ในแง่ดี) หรือ มีการหยิบจับ มีการใช้สินค้านั้นๆด้วย เรียกได้ว่า “เนียน” เพราะยิ่งเนียนเท่าไหร่ก็จะยิ่งเป็นคุณต่อสินค้ารายนั้นอย่างยิ่ง เช่น นานแล้วมีภาพยนตร์เรื่อง “เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย (ซีซันเชนจ์)” มีค่ายธนาคารกรุงศรีเป็นตัวนำ ในเรื่อง พระเอกนางเอก วัยรุ่นใช้บัตรเดบิตของธนาคาร งานประชุมในเรื่องก็มีป้ายแบคดร๊อป ของธนาคารกรุงศรี เรียกได้ว่า “สีเหลือง” เต็มจอ เต็มเรื่องเลยครับ
แต่ถ้าอยากคุมได้แบบเบ็ดเสร็จก็ต้องมีรายการเป็นของตนเองไปเลยเรียกได้ว่าเป็นคนผลิตรายการเอง ซึ่งหมายถึงเป็นเจ้าของรายการส่วนการผลิตจริงๆก็ต้องจ้างมืออาชีพหรือพิธีกร ทำให้สามารถคุม กำหนดทิศทางและข้อมูลข่าวสารได้อย่างที่ตนเองต้องการดีกว่าไปเป็นสปอนเซอร์เฉยๆ เช่นรายการ “เอสเอ็มอีตีแตก” ของค่ายกสิกรไทยเป็นต้น ก็เรียกได้ว่าเขียวกันไปทั้งรายการเลยครับ แล้วเดี๋ยวนี้หากต้องการให้สินค้าตัวเองเกิดถ้ามีแต่การโฆษณาแต่เพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอต้องอาศัยการคุมสื่อให้ได้ด้วย ผมมีเพื่อนคนหนึ่งเป็นเจ้าของสินค้าส่วนบุคคลประมาณว่า ผม ผิว สิว ขาว ไปซื้อเวลาทางทีวีช่องหนึ่งแล้วจ้างบริษัทผลิตละครซิทคอมขึ้นมาแล้วก็ดำเนินการ ทั้งโฆษณาตรง โฆษณาแฝงทั้งแบบแฝงธรรมดา แฝงเนียนๆ แถมดีไม่ดีถ้าขายโฆษณาเพิ่มทั้งในส่วนเวลาโฆษณาจริง และ รับสินค้าที่ไม่ขัดแย้งกันมาโฆษณาแฝงในรายการถ้ายายได้มากๆ กำไรอีกต่างหากเรียกว่าได้ทั้งขึ้นทั้งล่องเลย เห็นหรือยังครับว่า “ใครคุมสื่อได้ก็คุมทิศทางไปตามความต้องการของตนได้” W
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
ขายรัย...ทำไมเราอิน (มาก)
เครดิตภาพจาก "เฟสบุคไทรสุก" สองอาทิตย์ก่อนไปเห็นน้องคนหนึ่งที่เป็...
-
จุดศูนย์กลางการบินในแต่ละภูมิภาค (HUB) นั้นสามารถสร้างรายได้และสร้างเศรษฐกิจให้กับประเทศนั้นได้อ...
-
ทุกๆสี่ปีจะมีการแข่งขันฟุตบอลโลกซึ่งเป็นกีฬาที่มีคนเผ้าติดตามมากที่สุดในโลก การแข่งขันฟุตบอลถือเป็นรายการโทรท...
-
CR : Ski and Snowboard Association of Thailand เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับการเมืองและบิ๊กป้อมใดๆทั้งสิ้น เพราะว่าลุงแกตกยุค...