วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2560

“รถไฟ.(ปู้นๆ) .......ไปหาเธอ”



              


                มีภาพยนต์เรื่องหนึ่งคือ “รถไฟฟ้ามาหานะเธอ”  ซึ่งเป็นภาพยนต์ที่ทำเงินได้มากถึง  147 ล้านบาท  ซึ่งเป็นเรื่องรักๆของพนักงานสาวโสดวัย 30 ปี ที่พบรักกับวิศวกรรถไฟฟ้าของรถไฟฟ้าบีทีเอส   ก็เป็นเรื่องราวที่กล่าวขานกันในปี 2552  ที่กล่าวนำมานี่ไม่เกี่ยวกับเรื่องที่จะเขียนต่อไปนี้เรย  แต่เห็นว่าชื่อหนังมันน่ารักและเป็นหนังดังเมื่อ 8 ปีที่แล้วที่ตัวเองไม่ได้ดูแต่ได้ติดตามกระแสในยุคนั้น    สิ่งที่จะเล่าต่อไปนี้เพราะอ่านข่าวๆหนึ่งเกี่ยวกับรถไฟของประเทศจีน  ความว่า “จีนรุกเส้นทางสายไหม เดินรถไฟไป "ลอนดอน"   (เว็บไซท์โพสทูเดย์  4 มกราคม 2560)  อ่านแล้วนึกเปรียบเทียบกับรถไฟไทยแล้ว....เศร้า. !!!
                ผมเคยไปเมื่องจีนเมื่อประมาณปี 2534  เพราะตอนนั้นกำลังเจรจากับพันธมิตรเพื่อร่วมทุนกันตั้งโรงงานผลิตสีย้อมผ้า  ก็เลยต้องไปดูเรื่องการผลิต  เครื่องจักร  ต้องนั่งรถไฟต่อไปยังเมืองซึ่งจำชื่อไม่ได้แล้วขอบอกว่าทรมานสุดๆแถมรถเก่า  แออัดยัดเยียด  เวลาผ่านไป 26 ปี  วันนี้รถไฟจีนมีรถไฟความเร็วสูง   เซียงไฮ้-ปักกิ่ง  และอีกหลายๆเส้นทางทั่วประเทศ   ล่าสุดตามข่าวที่กล่าวนำในตอนแรกว่า  เปิดเส้นทาง จากเมือง อี้อู มณฑลเจ้อเจียง- ลอนดอน  โดยผ่าน 7 ประเทศ คาซัคสถาน รัสเซีย เบลารุส โปแลนด์ เยอรมนี เบลเยียม และฝรั่งเศส โดยสินค้าส่วนใหญ่ที่ขนไปกับรถไฟประกอบด้วยเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม กระเป๋า รวมถึงเครื่องใช้ที่จำเป็นอื่นๆ    ขอขยายความเป็นสองตอนคือ
                ตอนแรกขอแนะนำ “อี้อู  YI-WU   เป็นเมืองที่เป็นศูนย์กลางของสรรพสิ่งที่ผลิตในประเทศจีน  เพราะเป็นเมืองค้าส่งสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน   บางคนเรียกว่าเป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตของโลกเพราะว่าทางการจีนใช้เงินลงทุนถึง 700 ล้านหยวน หรือประมาณ 3,600 ล้านบาท  เพื่อให้เป็นสถานที่ศุนย์จำหน่ายสินค้าครบวงจร  ศูนย์รวมข่าวสาร  การส่งออก  ภาษี การเงิน การศุลกากร  ทุกอย่างพร้อมไปแค่หิ้วกระเป๋าไปเลือกซื้อสินค้า/สั่ง/จ่ายเงิน  ที่เหลือ  อี้อู้จัดให้แบบครบวงจรแล้วบินกลับไปรอรับของที่ประเทศของตนเองได้เลย    ผมเคยเดินทางไปที่ตลาดค้าส่งแห่งเมือยอี้อูครั้งหนึ่ง  เรียกได้ว่าเดินจนหลงครับเพราะมีพื้นที่ ประมาณ 1.5 ล้าน ตารางเมตร  มีร้านค้าส่งมากว่า 5 หมื่นร้าน  มีสินค้าว่ากันว่า กว่า 300,000 ชนิดมาให้เราเลือก  ก็ลองคำนวนดูซิครับว่าถ้าแวะพักร้านละ 5 นาที  ก็จะต้องใช้เวลาถึง   250,000 นาที  หรือ  173 วัน   หรือ 5.76 เดือน (เกือบครึ่งปี)  ถึงจะครบทุกร้าน  โอ้..พระเจ้าจอร์จ .......นอกจากนี้เราคงพอประมาณได้ว่าสินค้าจีนนั้นราคาเขาแบบว่า “เข็มขัดสั้น”  คือไม่น่าเชื่อ  ยกตัวอย่างเช่นกางเกงรัดรูปแบบยางยืดที่สาวๆไทยนิยมกันที่  อี้อู  ซื้อราคาส่งตกตัวละ  26 บาทครับ  /  เนคไทค์  แบบธรรมดาๆ  เส้นละ  25 บาท  / สายาคล้องแว่นตา  เส้นละ  12 บาท  ที่เล่ามานี้คือซื้อมาแล้วครับ  ลองนึกดูนะครับว่าถ้าซื้อเป็นหลัก 100 หรือ 1,000 ชิ้น ราคาจะเป็นอย่างไร  ..............คงเข้าใจแล้วนะครับว่าทำไมรถไฟสายแรกที่เดินทางจากจีนไปลอนดอนถึงเป็นสาย  อี้อู-ลอนดอน  ทำไมไม่เป็น  ปักกิ่ง-ลอนดอน  หรือ เซียงไฮ้-ลอนดอน  เพราะเพื่อเป็นที่ปล่อยของไปยังยุโรปนั่นเอง......................จบ...ข่าว...
                ตอนที่สอง  การเดินทางโดยรถไฟนี้เป็นระยะทาง 12,000 กิโลเมตร  ใช้เวลาเดินทางแค่ 18 วัน  ผ่าน 7 ประเทศ ที่มีศักยภาพในการค้าขาย  ไม่ว่าจะเป็น อังกฤษ  ฝรั่งเศส  รัสเซีย  เบลเยี่ยม  โปแลนด์  เบราสส  คาซัคสถาน และที่สำคัญ  เยรมันนี ซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป  มีอำนาจและกำลังซื้อที่จะเป็นที่ปล่อยสินค้าของจีน   ซึ่งสินค้าเหล่านี้จะเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นสำคัญเพราะตู้รถไฟไม่สามารถส่งสินค้าที่มีขนาดใหญ่  หรือ สินค้าอุตสาหกรรมได้อย่างเหมาะสม  ดังนั้นก็จะเป็นสินค้าที่บุคคลทั่วไปบริโภคกันเช่น  เสื้อผ้า  เครื่องนุ่งห่ม  สินค้าแฟชั่น  อาหาร  ฯลฯ เป็นต้น   ทำให้นักธุรกิจรายย่อยก็สามาถทำธุรกิจได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น  เพราะแสวงหาสินค้าได้มากมายหลายรายการและแพคส่งของมารวมกันทำให้ประหยัดต้นทุนทั้งในด้าน   การหาแหล่งซัพพลายสินค้า   ขนส่ง  การบริการทางด้านการเงิน  ฯลฯ  เพื่อเพิ่มความสะดวก  และเพิ่มคู่ค้า ที่เป็นรายย่อยเพิ่มขึ้น   นึกไม่ออกลองนึกถึง”พลาตินั่ม” ที่มีคนต่างชาติมาเดินช้อปและแพคของส่งกลับไปขายที่ประเทศของเขานะครับ  ต่างกันแค่ 1.ขนาดของอี้อูนี่ใหญ่กว่าไม่รู้กี่ร้อยเท่าของ”พลาตินั่ม ประตูน้ำ”  2.สิ้นค้าเขามีถึง 3 แสนกว่ารายการ  มากกว่าไม่รู้กี่ร้อยเท่าเช่นกัน.......................... นี่คือยุทธศาสตร์ของผู้นำจีนเพราว่าได้ตั้งงบประมาณเบื้องต้นถึง 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1.43 ล้านล้านบาท) ครึ่งหนึ่งของงบประมาณของประเทศไทยต่อปี    เพื่อก่อสร้างถนนและรางรถไฟในต่างประเทศ  ซึ่งตามแผนแล้วรวมทั้งลาว  ไทย  ที่เป็นข่าวด้วยนั่นเอง  นี่คือยุทธศาสตร์ของประเทศจีนที่จะพัฒนาการค้าไปทั่วทุกภูมิภาคนั่นเอง   ในขนะที่ประเทศไทยเรากำลังคุยกันเรื่อง “ปรองดอง  ปรองดอง  และ ปรองดอง “   แค่ 26 ปี รถไฟจีนจากที่แย่กว่า หรือ พอๆกับไทย  พัฒนาจนมีรถไฟความเร็วสูงมากกว่า  1,000 ขบวน แล้ว  ส่วนรถไฟไทยก็แค่  127 ปี  เพราะรถไฟสายแรกของประเทศไทยเกิดขึ้นในสมัยรัชการที่ 5 พ.ศ.2433   .....อมิตพุทธ.............. 


วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560

คำขวัญ



                     

              ปีใหม่อีกแล้วเวลาช่างผ่านไปอย่างรวดเร็วจริงหนอเหมือนนกมีปีกบิน   ในเดือนมกราคมนี้เราจะมีคำขวัญในวันสำคัญอยู่สองวัน   คือคำขวัญวันเด็กประจำปี 2560  คือ เด็กไทยใส่ใจศึกษา พาชาติมั่นคง "   อีกคำขวัญหนึ่งก็คือ คำขวัญวันครูประจำปี 2560 คือ "ชาติพัฒนา ด้วยครูดี มีคุณภาพ          ศิษย์ซาบซึ้ง ในพระคุณครู”    ซี่งแต่ละปีก็จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆนับเป็นเวลา  61 ปีแล้วเพราะคำขวัญวันเด็กเกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.2499    สมัยจอมพล  ป.  พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี  นั่นหมายความว่าเรามีคำขวัญวันเด็กมาแล้ว  61 คำขวัญ  ส่วนคำขวัญวันครูแม้มีการจัดงานวันครูมาตั้งแต่ปี 2500 แต่ก็เพิ่งมีคำขวัญวันครูครั้งแรกในปี 2522  ก็แปลว่าเรามีคำขวัญวันครูมาแล้ว  38 คำขวัญ  


              คำขวัญเหล่านี้เอาไว้ทำอะไรใครตอบได้บ้าง    .........?????    อาจเพื่อบ่งบอกถึงแนวทางในการพัฒนาเด็ก   เพื่อให้เด็กประพฤติปฏิบัติตาม   เพื่อแสดงจุดยืนของนายกรัฐมนตรี  เพื่อตอบคำถามเวลาไปเล่นเกมส์วันเด็ก   เพื่อตอบตอนสอบไล่  ฯลฯ  ก็ว่ากันไป   ซึ่งคงไม่มีใครตอบได้อย่างชัดเจนต่างก็ตอบตามทัศนคติของตนเองเป็นสำคัญ   ใช่หรือไม่.???


               ทีนี้ผมลองมาเทียบเคียงกับสโลแกนขององค์กรเอกชน  หรือ ของสินค้า   ซึ่งแน่นอนว่าสโลแกนนั้นมันบ่งบอกถึงบุคลิกลักษณะ  หรือจุดยืน  หรือจุดขายขององค์กรหรือสินค้านั้นๆ   แล้วคุณเคยเห็นสโลแกนเปลี่ยนแปลงทุกปีหรือไม่   คำตอบคือไม่เคยครับ     เพราะถ้าเปลี่ยนทุกปี  หรือแม้แต่เปลี่ยนบ่อยๆ   ก็จะไม่สามารถแสดงความเป็นตัวตนของสินค้า  หรือองค์กรนั้นได้  ใช่หรือไม่ ??  (บทความนี้คำถามแยะจัง อิอิ....)     ตัวอย่างเช่น  ธนาคารกรุงเทพ “เพื่อนคู่คิด  มิตรคู่บ้าน”   ธนาคารกรุงศรีอยุธยา “ปึกแผ่นเป็นแก่นสาร  บริการเป็นกันเอง”   ผมก็เห็นมาแล้วหลายสิบปี  หรืออย่างสโลแกนสินค้า เช่น  กาแฟเขาช่อง  “รสแท้  กาแฟไทย”    คาราบาวแดง  “นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่”  ซึ่งก็ไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลยตั้งแต่ใช้ครั้งแรก  ......


 แล้ววันนี้ครู กับ  เด็ก ไทยก็คงสับสนไปหมดว่าจะยึดอะไรเป็นแนวปฏิบัติ  หรือแนวทางในการพัฒนา  เพราะผู้ใหญ่ในบ้านเมืองก็เปลี่ยนกันทุกปี  หรือมีดีแค่ให้ท่องจำ  แล้วทำไม่ได้สักอย่างหนึ่ง   ข้อคิดเห็นของผมไหนๆเราก็จะมียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี กันแล้ว  ลองมามีคำขวัญวันเด็ก  คำขวัญวันครู  ที่สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีดีหรือไม่ครับ “ลุงตู่”   อย่างน้อยเราก็รู้ว่า  เด็กและครูจะมีทิศทางหรือการพัฒนาไปทางด้านใด   ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงกันทุกปีเพราะคำขวัญหรือสโลแกนนั้นๆมันควรเป็นสิ่งที่ไม่ใช่พอมีปุ๊บก็เป็นแบบนั้นปั๊บ  คือต้องใช้เวลาในการสร้างการจดจำ  เวลาในการพัฒนา  เวลาในการปฏิบัติเพื่อให้ไปในทิศทางเดียวกัน   เหมือนกับตำแหน่งของสินค้า  หรือ  องค์กรเอกชนที่กว่าจะสร้างแบรนด์  หรือ การยอมรับในใจของผู้บริโภคได้ก็ต้องใช้เวลาสร้าง  การรับรู้อาจจะสร้างได้ง่ายๆด้วยการโฆษณา   แต่จิตวิญญาณของสินค้าหรืองค์กรนั้นกว่าจะสร้างได้ต้องทุ่มเทสรรพกำลังลงไปทั้งเวลา  เงินทอง  และการฝึกฝนทั่วทั้งองค์กร.........ก็ฝากไว้ในแผ่นดิน   ก็แล้วกัน  อิอะปะติ๊งโหน่ง .......



ขายรัย...ทำไมเราอิน (มาก)

                                                   เครดิตภาพจาก "เฟสบุคไทรสุก"           สองอาทิตย์ก่อนไปเห็นน้องคนหนึ่งที่เป็...