ตอนผมเด็กๆเมื่อซัก 50
กว่าปีก่อนนี้มีหนังสือพิมพ์ไม่กี่ฉบับ
แต่ละฉบับก็จะหน้าบันเทิง และ
หน้ากีฬาเป็นองค์ประกอบของหนังสือพิมพ์รายวัน 1-2 หน้า จนปัจจุบันมีเซ๊คชั่นกีฬาอยู่หลายหน้าและมีหนังสือพิมพ์กีฬาโดยเฉพาะ มันบอกอะไรเราบ้างครับ
1.มีคนสนใจในการเสพสื่อบันเทิงและกีฬาในปริมาณที่มากอย่างมีนัยยะ
2.เมื่อมีคนสนใจมากๆแน่นอนการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจก็ย่อมมากตาม เพราะมีการซื้อขาย จับจ่ายใช้สอยในอุตสาหกรรมนั้นๆ
แต่เมื่อหลายสิบปีก่อนการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจอาจไม่มากและมีนัยสำคัญอย่างเช่นในปัจจุบัน
ทุกวันนี้อุตสาหกรรมกีฬามีส่วนในการกระตุ้นเศรษฐกิจอยู่ไม่น้อย
จะเห็นได้จากมุมมองของภาครัฐในการส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมกีฬา โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านกีฬา
ศิลปะ วัฒนธรรม การศาสนาคุณธรรม และจริยธรรม
ของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ซึ่งมีข้อสรุปในเรื่อง“การส่งเสริมอุตสาหกรรมการกีฬา” (Sports Industry Promotion )
ออกมาเป็นเอกสารเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนในภาครัฐและส่งเสริมการประกอบการของภาคเอกชน ซึ่งอ่านแล้วอาจจะงงๆเพราะเป็นภาษาราชการถึง 90 กว่าหน้า
แต่นับว่าเป็นเรื่องที่ดีที่ภาครัฐมองเห็นความสำคัญและให้การสนับสนุนและยอมรับว่ากีฬาเป็น
“อุตสาหกรรม” ชนิดหนึ่ง มิใช่แค่เป็นเครื่องมือในการออกกำลังกาย ลัลล้าเท่านั้น
ขนาดของอุตสาหกรรมกีฬามีขนาดใหญ่โดยประเมินกันว่ามีขนาดตลาดรวมทั่วโลกถึง
400,000
ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา
แน่นอนว่าตลาดใหญ่ที่สุดอยู่ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีขนาดตลาดประมาณครึ่งหนึ่งของขนาดตลาดกีฬาในโลก คือ 200,000
เหรียญสหรัฐอเมริกา
ส่วนขนาดตลาดอุตสาหกรรมกีฬาในประเทศไทยยังไม่มีหน่วยงานใดได้ทำการศึกษาอย่างจริงจัง คงต้องขอให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทย หรือ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจของหอการค้าไทย
ลองช่วยประเมิณขนาดของอุตสาหกรรมกีฬาในบ้านเราดูอย่างเป็นทางการเสียที เพราะที่ผ่านมามีแต่การประเมิณว่าประมาณ 80,000 ล้านบาท
ซึ่งผมคิดว่ามันน้อยกว่าความเป็นจริงอยู่พอประมาณ เพราะลองนึกเล่นกันดูว่าเอาแค่ “การวิ่ง” ซึ่งแต่ละปีมีการวิ่งรวมกันแล้วประมาณ 2,080 รายการ (มาจาก สัปดาห์ละ 40รายการคูณด้วย 52) มีนักวิ่งรายการละ 3,000 คน (ค่ากลางๆ
ซึ่งบางรายการมีนักวิ่งเป็นหมึ่นคน เช่น บางแสน 21 / บุรีรัมย์ / สวนผึ้ง เป็นต้น )
ก็จะมีนักวิ่งเข้ารวมจำนวน 6.24 ล้านคน
คนละ 500 บาท ก็จะมีมูลค่าถึง 3,120 ล้านบาทแล้ว นี่ยังไม่รวมไทยลีค
1 ปีนี้ 2018 ซึ่งแข่งไป 26 นัด(ยังเหลืออีก 8นัด) มีผู้ชมทั้งสิ้น 1.018 ล้านคน ไม่รวมเงินเดือนนักเตะ 18 ทีม (เฉพาะไทยลีค
1) หากรวมนักเตะ ค่าใช้จ่ายในการทำทีมของทีมไทยลีกทั้ง 1-4 และค่าถ่ายทอดลิขสิทธิ์ซึ่งขณะนี้ทรูวิชั่นเป็นผู้ได้รับลิขสิทธิ์ตกปีละ
1,000 ล้านบาท คงจะหลายพันล้านบาททีเดียว ซึ่ง
“ฟุตบอล” มีขนาดของตลาดใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของอุตสาหกรรมกีฬาในประเทศไทย ซึ่งหากรวม
จักรยาน โยคะ ฟิตเนส กีฬาอื่นๆ
ส่วนเสื้อผ้า อุปกรณ์ รองเท้ากีฬา ซึ่งประเมินว่าประมาณ
100,000 ล้านบาท ฯลฯ ก็คงมีขนาดตลาดโดยรวมซึ่งผมเชื่อ
(เป็นความเชื่อส่วนตัว โปรดใช้วิจารณญาณ)
ว่าขนาดของอุตสาหกรรมกีฬามีขนาดมากกว่า 200,000-300,000 ล้านบาทแน่นอน
แถมตลาดอุตสาหกรรมกีฬานี้มีการเติบโตต่อเนื่องมาโดยตลอดในช่วง
10 ปีที่ผ่านมา
โดยไม่ต้องไปดูในเรื่องการเติบโตของ
GDP
แน่นอนรายได้ต่อหัวของประชากรมีผลต่อการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมกีฬาและทุกๆอุตสาหกรรม
แต่เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปคำนึงถึงสุขภาพ และ
แฟชั่นมากขึ้นตลอดจนสื่อสังคมอีเลคโทรนิคทั้งหลาย
มีส่วนช่วยทำให้อุตสาหกรรมกีฬานี้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ครั้งหน้าเรามาต่อกันในเรื่อง “องค์ประกอบของอุตสาหกรรมกีฬา” และ “การตลาดกีฬา” พาชาติรุ่ง
(ไม่ริ่งแน่นอนครับ)...!!!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น