ภาษาไทยวันละคำวันนี้เสนอคำว่า “ภาพลักษณ์” ซึ่งหากไปเปิดดูในพจนานุกรมสองเล่มที่คิดว่าเป็นมาตราฐานในการค้นขว้า จะพบว่ามีความหมายดังนี้
พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน จะหมายถึง
ภาพลักษณ์
ภาพที่เกิดจากความนึกคิดหรือที่คิดว่าควรจะเป็นเช่นนั้น
จินตภาพ ก็ว่า.
พจนานุกรม แปลไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร
จะหมายถึง
ภาพลักษณ์ ภาพที่เกิดจากความนึกคิดหรือที่คิดว่าควรจะเป็นเช่นนั้น.
ในช่วงรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 24 มีนาคม 2562 นี้
คำๆนี้รู้สึกว่าเป็นที่สนใจสำหรับนักการเมือง ในการสร้างภาพลักษณ์ให้โดยใจกับกลุ่มเป้าหมายที่จะขอคะแนนเสียง จนถึงกับมีการปรับปรุงภาพลักษณ์ ซึ่งในบทความนี้มิได้ประสงค์จะกล่าวถึงในแง่ของการเมือง
แต่จะกล่าวถึงในแง่ของมุมมองว่าถ้านักการเมืองเป็นสินค้าที่ต้องการสร้างภาพลักษณ์ให้สอดคล้องกับลูกค้าเป้าหมายที่จะมาลงคะแนนเท่านั้น
ดังนั้นภาพลักษณ์ในที่นี่ของผมจึงหมายถึง
“คือส่วนผสมของภาพจำ
(ในอดีต) ระหว่างตัวตนที่แท้จริง
กับสิ่งที่จะต้องมีการปรับปรุง
หรือสร้างขึ้นเพื่อให้ตรงกับความรู้สึกของผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียง “
แต่มันก็มีเส้นบางๆหากก้าวข้ามจากสิ่งที่ตนเองเป็นอย่างพลิกฝ่ามือ ก็จะทำให้เห็นว่าเป็น “ลักภาพ”
ไม่ใช่ “ภาพลักษณ์”
คือหมายถึงไปลักเอาภาพของคนอื่นมาใส่ในภาพของตนเองนั่นเอง
กรณีศึกษาที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือกรณี
“ลุงตู่”
ที่ทีมงานปรับภาพเสียจนคนรู้สึกได้ว่ามัน “ลักภาพ”
เพราะเป็นการเปลี่ยนโดยสิ้นเชิง
และไม่มีมูลฐานหรือองค์ประกอบของความจริงเพียงพอต่อการเชื่อถือ
ถ้าภาษาวัยรุ่นคงหมายถึง “เวอร์ ไป” จากบุคลิกของคนที่เข้มแข็ง เกรียวกราด
ชี้หน้า พูดห้วนๆ (ตามปทัศฐานของชายชาติทหาร
ซึ่งไม่ได้ผิดอะไร ) ฯลฯ จนมาเป็นยิ้มแย้มแจ่มใส คิกขุ อาโนเนะ
เรียกได้ว่า คนดูแล้วก็เกิดความขัดแย้งในภาพที่เห็นกับภาพจำ
(คือภาพที่ฝังอยู่ในความทรงจำ
จากประสบการณ์ในอดีต
หากผมเป็นทีมงานก็จะปรับปรุงเพียงแค่ให้ภาพที่ออกมาลดความดุดันลง ให้ภาพรู้สึกอบอุ่นขึ้นมานิดนึง
ไม่ต้องถึงกับทำให้ดูเหมือนคิกขุประมาณนั้น ก็จะเป็นการที่เหมาะสมกว่า เราลองนึกดูนะครับว่าคนๆหนึ่งมีอัตลักษณ์ของตนเองมา
65 ปีจะให้มาเปลี่ยนแปลงใน 2 เดือน
มันก็เลยดูเหมือนก้าวข้ามข้อเท็จจริงไปจนทำให้คนดูรู้สึกว่าเป็น “ลักภาพ” มากกว่านั่นเอง
ต่างจากนักการเมืองคนอื่นๆที่ก็ต้องสร้างภาพลักษณ์ แต่ที่เห็นมาก็ไม่มีใครเปลี่ยนโดยสิ้นเชิง
และก็มิได้หมายความว่าการเข้มเข็งดุดันจะเป็นเรื่องผิด ดูอย่าง พล.ต.อ.เสรี เตมีย์เวศ ก็เข้มแข็ง
ดุดันกร้าวร้าว
ก็ไม่เห็นจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
ลุงกำนัน ก็เช่นกัน
สามารถแสดงตัวตนที่เป็นตนเองอย่างแท้จริง ........... อย่าลืมว่าการสร้างภาพลักษณ์นั้นจะมีเส้นแบ่งบางๆระหว่าง ตัวตนที่แท้จริง กับ
ภาพที่ต้องการให้รู้สึก
หากก้าวข้ามข้อเท็จจริงไปมากก็กลายเป็น “ลักภาพ”นั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น