วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2564

พ้นความยากจน ??

 



                ใครเคยไปประเทศจีนเมื่อ 2523 ซึ่งเป็นปีที่จีนเปิดประเทศ ในขณะนั้นผมเพิ่งจบการศึกษาปริญญาตรี และได้มีโอกาสไปเยี่ยมญาติที่ซัวเถา  ต้องนั่งรถกระป๋องเล็กๆข้ามวันจากด่านชายแดนจีน-ฮ่องกง  และต้องซื้อตั๋วมอเตอร์ไซค์เพื่อไปเป็นของฝากให้ญาติผู้ใหญ่   ซึ่งก็นับเป็นเวลา 40 ปีพอดีในปีนี้      แต่ในปี  2534 หรือเมื่อ   30 ปีที่แล้วก็ได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมโรงงานผลิตสีย้อมผ้า   ซึ่งไปเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตและเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต   โดยทางบริษัทได้ตกลงร่วมทุนในการผลิตสินค้านี้ในประเทศไทย   การเดินทางต้องเดินทางระหว่างเมือง   ต้องใช้รถไฟซึ่งนับเป็นประสบการณ์ที่ยากจะลืมเลือนเพราะเป็นรถไฟที่เก่า  สกปรก  ผู้โดยสารแน่นแถมยืนเต็มขบวน    ไม่ต้องพูดถึงการบริการ  ฯลฯ  แล้ววันนี้เป็นอย่างไรบ้าง รถไฟความเร็วสูง  ที่จีนพัฒนาเทคโนโลยีของตนเอง   สามารถส่งออกไปได้ทั่วโลกแถมบ้านเมืองพัฒนาไปไกลจนจะก้าวเป็นมหาอำนาจทั้งทางเศรษฐกิจ และ ทางทหารอีกด้วย

                ในปี  2523 ( 1980 ) นั้นจีดีพีของประเทศจีน  คิดเป็น  1.8 % ต่อหัวของคนจีนอยู่ที่  384 เหรียญสหรัฐ 

                แต่ในปี 2563 (2020)  ที่จีนพัฒนาประเทศมาครบ 40 ปีพอดี  จีดีพีของจีนคิดเป็นถึง 14.8 %  ของจีดีพีโลก  ที่สำคัญจีดีพีต่อหัวเพิ่มขึ้นเป็น  9,281  และเชื่อว่าในปี  2564 นี้จะเพิ่มเป็น มากกว่า  10,000 เหรียญสหรัฐอย่างแน่นอน

                หันกลับมาดูพี่ไทยเราพัฒนามาตั้งแต่  แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ซึ่งประกาศใช้ในปี 2504 นับถึงวันนี้  60 ปี  โปรดอ่านอีกครั้งหนึ่งครับ  60 ปีผ่านไป  ซึ่งจะสิ้นสุดแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12  (2560-2564)  ในปีนี้แล้ว  ผลของการพัฒนาเป็นอย่างไรบ้าง

 2533   ซึ่งเป็นปีแรกที่หาข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทยไทย  มีจีดีพีต่อหัว 39,965 คิดเป็น  (ขอคำนวนที่ 30 บาท / เหรียญ)    1,332 เหรียญสหรัฐ /คน  (https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/ReportPage.aspx?reportID=409&language=th )

ผ่านไป 30 ปี ในปี  2562  จีดีพีต่อหัวของประเทศไทย   7,607  เหรียญสหรัฐ/คน ซึ่งน้อยกว่าคนจี่นที่เกือบ 10,000 เหรียญสหรัฐ   ที่สำคัญไปกว่านั้น   ..................โปรดตามมาครับ.................

 

จีนเคยมีคนยาจนอยู่เกือบ  900 ล้านคน ในขณะที่มีประชากร  1,300 ล้านคน   แต่เมื่อตรุษจีน  2564 (2021)  ที่ผ่านมาประธานาธีบดี  สี่จิ้นผิง ประกาศว่าประเทศจีนไม่มีคนยากจนแล้ว  เพราะตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนคนที่ 7  เมือ  2556   นับว่าใช้เวลา  8 ปีเท่านั้นในการสานต่อนโยบายของประธานาธิบดี 6 คนก่อนหน้า  ซึ่งท่านที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาประเทศมากที่สุดคือ เติ้งเสี่ยวผิง  ลายเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของจีนคนใหม่ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1978  ซึ่ง ไม่เคยดำรงตำแหน่งเป็นประมุขแห่งรัฐ หัวหน้ารัฐบาล หรือเลขาธิการ(ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์)  เลย   แต่เป็นผู้ทรงอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงประเทศจีนอย่างแท้จริง  จนได้รับการยกย่องเป็นบุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์ในปี  1978

แม้แต่มณฑลกุ้ยโจวซึ่งในอดีตเคยเป็นมณฑลที่ยากจนที่สุดของจีน    มีประชากรกว่า 9 ล้านคน  และได้รับการพัฒนาจนพ้นความยากจนในปี  2555   จนเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 รัฐบาลจีนประกาศว่า 9 อำเภอที่ยากไร้สุดท้ายในมณฑลกุ้ยโจวได้หลุดพ้นจากความยากจนขั้นสูงสุด  และประเทศจีนไม่มีคนยากจนแล้ว   

ซึ่งหลายคนอาจจะสงสัยว่าแต่ละประเทศนั้นมีเส้นขีดแบ่งความยากจนแตกต่างกันหรือไม่  เพราะว่าค่าครองชีพของแต่ละประเทศนั้นไม่เท่ากัน    ซึ่งจีนได้กำหนด   ความยากจนขั้นสูงสุด” (absolute poverty) คือ รายได้ต่ำกว่า 2,300 หยวนต่อปี หรือราว 10,000 บาทต่อปี   ในขณะที่ประเทศไทยได้กำหนดความยากจนตามข้อกำหนดของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ  หรือบัตรคนจน ว่าจะต้องมีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท / ปี 

แล้วบัตรคนจนในประเทศไทยที่กรมบัญชีกลางประกาศว่า มีถึง   14. 5 ล้านราย  คิดเป็น    21.64 % ของประชากร 67 ล้านคน(โดยประมาณ)    ซึ่งก็พอจะมองได้เป็นสองแนวทาง

                1.เกณฑ์การกำหนดคุณสมบัติคนที่มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทนั้นเหมาะสมหรือไม่  และ การลงทะเบียนนั้นถูกต้องหรือไม่    เพราะเราเห็นกันอยู่หลากหลายว่าบุคคลที่มีรายได้มากกว่า 30,000 บาทต่อปี  หรือ  2,500 บาทต่อเดือน  ก็มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐนี้กันอย่างทั่วหน้า  เรียกว่าแจกบัตรกันอย่างทั่วถึง  นี่ถ้าหากว่าไม่เป็นการริดรอนสิทธิมนุษย์ชน  ลองประกาศรายชื่อทั้ง 14.5  ล้านคน ดู รับรองว่านักสืบโซเชีลจะหาคนที่มีรายได้เกินเกณฑ์ไม่ต่ำกว่า  3-5 ล้านคน  เพราะคิดง่ายๆว่า 

ประชากรมี    67  ล้านคน   ตัวเลขโดยประมาณ และตัวเลขด้านล่างเหล่านี้เป็นตัวเลขไม่ใช่ปีเดียวกันเพราะไม่สามารถหาข้อมูลได้  แต่แม้จะเหลือมปีกันก็สามารถเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ในเบื้องต้นได้ตามสมควร  ดังนี้

1.ข้าราชการปัจจุบัน    2,841,259

2.ข้าราชการบำนาญ   556,079  คน  ปี 2554   ( http://www2.fpo.go.th/S-I/Source/Article/Article146.pdf ) 

3.พนักงานในระบบประกันสังคม  16,407,409  ( 2563 ก่อนโควิด)

4.บัตรคนพิการ    จากสถิติข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย ของศูนย์ข้อมูลคนพิการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ในปี 2561 ระบุว่า ประเทศไทยมีคนพิการที่ได้รับการออกบัตรประจำตัวคนพิการแล้วทั้งสิ้น 2,041,159

5.ผู้รับเบี้ยผู้สูงอายุ    11.1 ล้านคน    ธค 2562  กรมกิจการผู้สูงอายุ    ( http://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/275 )

6.เด็กอายุต่ำกว่า 18  ปี     14.128     ธค 2558  กรมการปกครอง  (ซึ่งไม่มีสิทธิรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ)

รวมแล้ว  47.536 ล้านคน  ซึ่งจะไม่มีคุณสมบัติที่จะได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

จากประชากร  67 ล้านคน  จะเหลือ   19.47  ล้านคน    แต่มีคนได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ถึง  14.5 ล้าน

แสดงว่าคนที่ไม่อยู่ในระบบใดเลย จะมีรายได้มากกว่า 30,000 บาทต่อปีอยู่แค่     4.97   ล้านคนแค่นั้นเอง

กลับมาที่ประเทศจี    สี จิ้นผิง  ได้กล่าวไว้เมื่อ   3  ธันวาคม  2020 ในปีที่จีน และ โลก เจอกับหายนะโควิด-19  ว่า

เราได้ทำหน้าที่บรรเทาความยากจนในโลกยุคใหม่ได้เสร็จสมบูรณ์ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้

และยังได้กล่าวไว้อีกว่า

                ปัญหาของความไม่เท่าเทียมและการพัฒนาที่ไม่มีประสิทธิภาพของประเทศนั้นยังเห็นได้เด่นชัด และการกระจายความเจริญ รวมถึงขยายผลการบรรเทาความยากจนให้กว้างขวางนั้นยังเป็นงานที่ยากลำบาก

 

           ส่วนประเทศไทยเราผู้นำกล่าวว่า  “ ไม่รู้ ไม่เห็น ไม่มี “   หัวเราะมิออก  อีก 10-20 ปี เวียดนามอาจจะแซงเราไปก็ได้  เขียนแปะข้างฝาบ้านไว้ได้เลย  วันนี้จีดีพีต่อหัวของเวียดนามอยู่ที่    3,497  เหรียญสหรัฐ /คน  อีก 10-20 ปีมาดูกันว่านจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง  เพราะบ้านเราวนเวียนอยู่กับ  เลือกตั้ง  ปฏิวัติ   ประท้วง  เขียนรัฐธรรมนูญ  แก้รัฐธรรมนูญ  วนไปตั้งแต่  2475  รวมแล้ว  89  ปี  มีรัฐธรรมนูญแค่ 20  ฉบับเอง   ....... เอวัง.....ก็มีด้วยประการนี้แล...........

 

 

 

 

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขายรัย...ทำไมเราอิน (มาก)

                                                   เครดิตภาพจาก "เฟสบุคไทรสุก"           สองอาทิตย์ก่อนไปเห็นน้องคนหนึ่งที่เป็...