ปัจจุบันเราคงต้องยอมรับแล้ว่า SOFT POWER ซึ่งผมเคยเขียนไว้ว่าจะให้ชื่อว่า “ พลังแห่งสุนทรีย์” นับเป็นปัจจัยที่ทรงพลังปัจจัยหนึ่งที่จะสร้างสรรค์เศรษฐกิจได้ โดยตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือ ประเทศเกาหลีที่ในปี 1970 ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 6 แต่ปรากฏว่าเกาหลีไม่มีเงินจัดการแข่งขัน ประเทศไทยเลยรับเป็นเจ้าภาพแทนเพราะมีความพร้อมเนื่องจากได้เป็นเจ้าภาพในครั้งที่ 5 เมื่อปี 1966 แล้ว เวลาผ่านไปแค่ 50 ปี ตอนนี้เกาหลีเป็นเจ้าภาพทั้งเอเชียนเกมส์ 3 ครั้ง ฟุตบอลโลก โอลิมปิกรวมทั้งโอลิมปิกฤดูหนาว ซึ่งหากมองจีดีพีของไทยและเกาหลีในปี 1970 ไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ทุกๆ 10 ปี เกาหลีจะทิ้งห่างไทยไปจนถึงปี 2020 ทิ้งห่างเกือบ 5 เท่าตัว ตามตารางข้างล่างนี้
YEAR |
KOREA GDP/ CAPITA/USD |
THAILAND GDP / CAPITA /USD |
1970 |
279 |
192 |
1980 |
1,715 |
682 |
1990 |
6,610 |
1,508 |
2000 |
12,256 |
2,007 |
2010 |
23,087 |
5,076 |
2020 |
31,489 |
7,189 |
อ้างอิง : https://www.macrotrends.net/countries/THA/thailand/gdp-per-capita
จุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของเกาหลีเกิดได้อย่างมียุทธศาสตร์ในปี 1998 โดยรัฐบาลได้กำหนดให้วัฒนธรรมและสื่อ เป็นจุดขายและเป้าหมายในการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และมิได้มีแต่เป้าหมายและยุทธศาสตร์เหมือนหลายๆประเทศ ( คงเข้าใจได้ว่าประเทศอะไร?) แต่ได้ดำเนินการและลงมือปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีชื่อแผนนี้ว่า ‘Hallyu Industry Support Development Plan’ เป้าหมายคือเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมวัฒนธรรมถึง 2.9 แสนล้านดอลล่าร์ และเป็นที่มาของภาพยนต์ / ซีรียส์ / เกมส์ / อาหาร ฯลฯ ที่ขายความเป็นเกาหลี ไม่ว่าจะเป็น Winter Love song / Winter Sonata หรือ แดจังกึม ซึ่งสถานที่ถ่ายทำและโรงถ่ายก็กลายมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สากวต้องตามรอยซีรียส์ จนล่าสุดคือ Squid Game ที่สามารถสร้างกระแสไปได้ทั่วโลกนั่นเอง และยังมีศิลปินอีกมากมายที่เราและประชาคมโลกเรียกว่า K-POP ทีระดับดังๆมีถึง 76 วง ไม่ว่าจะเป็น BTS และล่าสุดคือ วงเกิรล์กรุ๊ป Black Pink ที่มี LISA เป็นหนึ่งในศิลปินที่เรียกได้ว่ามีคนติดตามใน IG ถึง 76 ล้านคนและกำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งในภาพยนต์ของเกาหลีนั้นจะมีการสอดแทรกวัฒนธรรมไม่ว่าจะเป็น อาหาร ภาษา การแต่งกาย เกมส์ ฯลฯ ลงไปอย่างมีนัยสำคัญ แม้แต่ซีรยส์อิงประวัติศาสตร์ก็สอดแทรกได้อย่างกลมกลืน โดยยึดเอาความต้องการของผู้ชมเป็นสำคัญ ไม่ใช่ยัดเยียดวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ผู้ชมอาจจะไม่เข้าใจหรือไม่สนใจ เรียกได้ว่าปรับแต่งอย่างเหมาะสมตามความต้องการและความเข้าใจของลูกค้านั่นเอง
เร็วๆนี้มีซีรียส์ในช่อง AXN สองเรื่องออกมาใกล้เคียงกัน แต่ดูแล้วรู้สึกว่าแนวทางในการนำเสนอนั้นจะใช้แนวนโยบายเฉกเช่นเกาหลี นั่นก็คือ MY HOME TOWN G.O.A. T ซึ่งเป็นเรื่องราวของ คนสามกลุ่มคือ Megan Young and Mikael Daez ซึ่งเป็นคู่รักซีเล็บไปรีฮันนี่มูน , นางงามฟิลิปินส์ Gazini Ganados Miss Universe Philippines 2019 , และ PBA Moto Club ซึ่งทั้งสามคมเป็นนักบาสสเก็ตบอลซุปเปอร์สตาร์ที่ชอบการขับขี่มอเตอร์ไบค์ท่องเที่ยว โดยในซีรีย์เป็นการนำชมเมือง วัฒนธรรม อาหาร ภาษา การแต่งกาย ฯลฯ ของหลายๆเมืองที่ไม่ใช่เมืองท่องเที่ยวหลักของฟิลิปินส์ คือ Dapitan , Zambales , Pampanga ,Tarlac , Zamboanga , Pangasinan ,Pozzorubio
ส่วนอีกรายการหนึ่งก็คือ Indonesia Ultimate Challenge ก็เป็นการนำเสนอการแข่งขันที่ไม่ใช่ในเชิงกีฬาและเอ็กซ์ตรีมแต่เป็นเกมส์ โดยมีผู้เข้าแข่งขันสองทีมและหากใครชนะก็จะได้เหรียญในเกมส์นั้นไป จนสิ้นสุดรายการใครได้เหรียญมากกว่าก็จะเป็นผู้ชนะ ซึ่งในเกมส์การแข่งขันนั้นก็จะสอดแทรกเรื่อง อาหาร วัฒนธรรม ภาษา การแต่งกาย ความเชื่อ ธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยว และนำเสนอในรูปแบบไม่ฮาร์ดเซล ทำให้เราอยากค้นหาโดยตลอดรายการจะมี เว็บไซท์ ไอจี เฟสบุค สื่อโซเชีลอื่นๆเพื่อที่คนสนใจจะได้ค้นหาเพิ่มเติม และที่สำคัญทุกวันเมื่อสิ้นสุดการแข่งขันทั้งสองทีมจะต้องอัพไอจีสตอรี่แข่งกันด้วย
จะเห็นได้ว่าทั้งเกาหลี ฟิลิปินส์ อินโดนีเซีย นั้นได้พยายามสอดแทรกและขายวัฒนธรรม สถานที่ท่องเที่ยว เพื่อสรรคสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ลงไปในสื่อ ไม่ว่าจะเป็น ภาพยนต์ เพลง สารคดี ซีรียส์ โซเชียลมีเดีย ฯลฯ แล้วประเทศไทยเราพร้อมหรือยังกับการเปลี่ยนแปลงนี้ในการนำเสนอ SOFT POWER แบบเนียนๆ