วันจันทร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2566

5 อ.ไว้รอคน”เหงา”

 


  CR : ภาพ https://www.7cups.com

               ปกติแล้วคนโดยทั่วไปมักจะคิดว่า “คนโสด” คือคนเหงา  ซึ่งก็จริงเพียงส่วนหนึ่งเพราะว่างานวิจัยของ วิทยาลัยการจัดการ ม.มหิดล  ค้นพบว่าคนไทยมี  “ความเหงา”  ถึง 25 เปอร์เซนต์ เรียกได้ว่าประมาณ 35% ของประชากรเรยทีเดียวซึ่งความเหงานี้ไม่มีปราณีใคร  เป็นได้ทุกเพศ ทุกวัย และ ทุกกลุ่มรายได้    ในประเทศอังกฤษถึงกับมีการตั้ง รมต.กระทรวงแห่งความเหงาขึ้นมา  เพื่อบริหารจัดการโดยเฉพาะทั้งๆที่มีการสำรวจพบว่ามีประชากรขี้เหงาแค่ 9 ล้านคน จากประชากรประมาณพอๆกับประเทศไทยคือ  60 ล้านคน  คงต้องหารือท่านนายกเศรษฐา  ว่าเราควรจะมี รมต.ดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะหรือไม่ ??

               แล้วสาเหตุของความเหงาน่าจะเกิดจากอะไรได้บ้าง  โดยส่วนตัวผมวิเคราะห์และมีข้อคิดเห็นดังต่อไปนี้

               1.ความโสด  และ การหย่าร้าง ซึ่งก็นับว่าเป็นปัญหาส่วนหนึ่งที่คนไทย และ คนในประเทศต่างๆเกือบทั่วโลก เป็นโสด หรือ หย่าร้างมากขึ้น (ยกเว้นในทวีปอัฟริกา) หรือในประเทศโลกที่สาม  ก็เลยทำให้มีเวลาว่างมากแถมไม่สามารถบริหารจัดการเวลา และอารมณ์ได้อย่างเหมาะสมก็เลยเกิด “ความเหงา”

               2.เทคโนโลยี  ที่เข้ามาช่วยในการดำรงชีวิต ช่วยทำงาน   อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน   ตัวอย่างเช่น แม่บ้านในยุคก่อนๆ ทำงานเช้าจรดเย็น  แต่ทุกวันนี้มีอาหารพร้อมปรุง  แพคสำเร็จรูป  เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มาช่วยทำงานบ้าน  เครื่องซักผ้า อบผ้า  ดูดฝุ่นๆ ฯลฯ เลยมีเวลาว่างมากขึ้น  หรือแม้แต่การทำงานที่บ้าน  ก็เลยขาดทักษะในการมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมไปโดยปริยาย

               3.จำนวนประชากรสูงวัยมีมากขึ้น  จากเว็บไซท์ของ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์พบว่า ในปี 2566  คนไทยที่อายุมากกว่า 60 ปี มีถึง  12.688 ล้านคน จาก  67 ล้านคน คิดเป็น  18.93 เปอร์เซนต์ใกล้จะเข้าสู่สังคมสูงวัยแบบสมบูรณ์  คือมีประชากรที่อายุมากกว่า 60 ปี  20 เปอร์เซนต์ขึ้นไปในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า   ซึ่ง"สังคมผู้สูงอายุ" องค์การสหประชาชาติ แบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้

การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ Aging society หรือ Aging society คือ การมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากร หรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65ปี เกินร้อยละ 7 ของประชากร

สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ Aged society คือ เมื่อประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 หรือ  ประชากรอายุ 65 ปี เพิ่มเป็นร้อยละ 14 ของประชากรโดยรวมทั้งหมดของทั้งประเทศ

Super-aged society คือ สังคมที่มีประชากรอายุ 65ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20

4.ลักษณะโครงสร้างของครอบครัว และ พฤติกรรมครอบครัว  กล่าวคือเป็นสังคมครอบครัวเดี่ยวอยู่กันแค่พ่อแม่ลูก  หรือ บางครั้งไม่มีลูก  หรือมีลูกแค่ 1 คน   แตกต่างจากในยุคก่อนที่เป็นครอบครัวขยาย ปู่ย่า  พี่น้อง อยู่เป็นครอบครัวใหญ่  และมีลูกหลายคน 

5.ความเป็นปัจเจคบุคคล ซึ่งราชบัณฑิตได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า  ปัจเจก หมายถึง เฉพาะตัว เฉพาะบุคคล ตามลำพังไม่มีผู้อื่นสิ่งอื่นเข้ามาร่วมด้วย  ก็เลยทำให้ขาดทักษะในการใช้ชีวิตในสังคม

จากสาเหตุและจำนวนประชากรที่มีพฤติกรรมหรืออารมณ์แบบ “ความเหงา” แล้ว ธุรกิจหรือเอสเอ็มอีจะแสวงหาความต้องการของกลุ่มบุคคลเหล่านี้  ที่จะมีกำลังซื้อสูงเพราะคนที่มีกำลังซื้อต่ำหรือคนจนมักจะมีความเหงาน้อยกว่า  เพราะว่าวันๆหมกหมุ่นแต่การหาเงินมาดำรงชีพและใช้หนี้  ก็จะเป็นผู้มี “ความเครียด”มากกว่า “ความเหงา”   ดังนั้นธุรกิจ หรือ เอสเอ็มอีต้องใช้กลยุทธ์   “ 5  อ. ไว้รอคนเหงา”

               อาหาร   คนเราเวลาเหงาๆคิดอะไรไม่ออกมักจะออกไปทานอาหาร หรือ ดื่ม 

               อากาศ  แต่ในที่นี้หมายถึง บรรยากาศ  ที่สุนทรียะ  ไว้คอยคลายความเหงา

               อารมณ์  ก็มักจะคล้อยตามกับบรรยากาศ  ที่ต้องเป็นสถานที่ที่รังสรรค์อารมณ์ให้รื่นเริง

               อาคม  อันนี้หมายถึงสายมูเตลู  ใช้ความเป็นสายบุญ สะพานบุญ  เพื่อความสบายใจ

               อาชีวะ  คือการฝึกฝนอาชีพ  การรังสรรค์  ประดิษฐ์  งานอดิเรก ต่างๆที่จะช่วยผ่อนคลาย

ซึ่งในอเมริกามีบริการดูแลผู้สูงวัยซึ่งในสังคมฝรั่งแล้ว  เหงาอย่างยิ่งเพราะลูกหลานจะแยกตัวออกไปตั้งแต่ 18ปี  ไม่เหมือนคนเอเชียที่อยู่กันจนกว่าจะมีครอบครัวถึงแยกตัว  นำเอาคนรุ่นใหม่หรือนักศึกษามาบริการในการพาไปเที่ยว  รับประทานอาหาร เพราะไม่มีลูกหลานคอยดูแล

          เคยเห็นในคลิปที่ส่งต่อๆกันมา มีการให้เช่า “คุณลุง”  ในประเทศญี่ปุ่นตอนแรกก็คิดว่าเป็นเรื่องขำๆ  แต่พอลองค้นหาข้อมูลก็พบว่าเป็นความจริง  โดยเช่าไปเพื่อให้คำปรึกษา พูดคุย  เนื่องจากเป็นผู้มีประสบการณ์ สำหรับผมซึ่งเป็นคนเหงาประเภทที่สาม ก็อยากจะเช่าสาวๆมาช่วยคลายเหงาอยู่เหมือนกัน  แต่ภรรยาห้ามไว้เด็ดขาด  ไม่งั้นคอขาดแทนนะจะบอกให้     อิอิ..........

 

 

 

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขายรัย...ทำไมเราอิน (มาก)

                                                   เครดิตภาพจาก "เฟสบุคไทรสุก"           สองอาทิตย์ก่อนไปเห็นน้องคนหนึ่งที่เป็...