วันอังคารที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2566

“ธุกิจบ้านๆ...เบิกบานฤทัย 31 ตุลาคม 66

 

        เมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสไปร่วมงาน “สังสรรค์ประจำปี  ของบัณฑิต พลศึกษารุ่นที่ 7  เคยู 38 “  ซึ่งตอนนี้พวกเราทั้งหลายก็อายุ 63-65 ปีแล้ว  ร่างกายก็ร่วงโรยไปตามวัย  คงมีชีวิตอยู่ได้ไม่น่าจะเกิน 20-30 ปีข้างหน้า   ก็เลยตกลงกันว่าแต่ละปีเราจะเจอกัน 3 ครั้ง  เมษายนจะจัดงานในกทม. และเชิญครูเก่าๆของพวกเรามาร่วมงานช่วงหลังสงกรานต์  พร้อมทั้งขอรถน้ำขอพรจากคณาจารย์    และฉลองวันเกิดให้เพื่อนๆที่เกิดระหว่าง มกราคม-มิถุนายน    ครั้งที่สองจะไปยังต่างจังหวัดในเดือนสิงหาคม   เพื่อฉลองวันเกิดให้เพื่อนๆที่เกิดช่วงเดือน  กรกฏาคม-ธันวาคม  ซึ่งสองครั้งแรกเพื่อนที่เกิดจะเป็นคนจ่ายค่าอาหาร     ส่วนครั้งสุดท้ายจะจัดในเดือนธันวาคม   และมีงานทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับ ครูและเพื่อนที่เสียชีวิตไปแล้ว   โดยมีครูที่เสียชีวิตไปแล้ว 11 คน และเพื่อนที่เสียชีวิตไปแล้ว 7 คน   หากท่านผู้อ่านจะนำไปเป็นแนวทางเพื่อนัดพบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูงก็ไม่สงวนลิขสิทธิ์นะครับ

           ในปี 2566 นี้เรานัดหมายกันไปที่  นครศรีธรรมราชและสงขลา  เพราะมีเพื่อนใช้ชีวิตหลังเกษียณอายุอยู่ในจังหวัดทั้งสอง   ก็ได้มีโอกาสใช้ชีวิตสามวันสองคืนในจังหวัดทั้งสอง    โดยปกติแล้วเรามักจะสังเกตุและจดจำกลยุทธ์ทางการตลาดหรือการบริหารธุรกิจจากธุรกิจขนาดใหญ่ หรือ ขนาดกลาง   แต่ครั้งนี้ได้มีโอกาสมองธุรกิจขนาดเล็กที่เรียกได้ว่า  “ธุรกิจบ้านๆ”  ซึ่งจากเสียงสะท้อนส่วนใหญ่ว่าเศรษฐกิจแย่  รากหญ้าจะตายกันหมดแล้ว  บลาๆๆ   ซึ่งก็เป็นเรื่องจริงที่พบเห็นได้โดยทั่วไป   แต่ก็ยังคงมีธุรกิจแบบบ้านๆที่ยังคงอยู่และเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ   เรามาดูกันว่าเค้าดำเนินธุรกิจหรือร้านค้าของเค้าอย่างไร   เพราะหากเราไปดูแคมเปญ หรือ กลยุทธ์ของบริษัทใหญ่ไม่ว่าจะเป็น ธนาคาร  ปตท  ซีพี  แล้วอาจจะปวดหัว และท้อใจ  เราไม่มีทั้ง งบ  คน  ทรัพยากร ฯลฯ แต่ธุกิจแบบบ้านๆนี้ใกล้ตัวเรา  คงสามารถนำไปใช้หรือพัฒนากับร้านค้าของตนเองได้

          ร้านแรกคือ  “บังบ่าว”  ซึ่งเป็นร้านน้ำชาเมืองนครฯที่อยู่คู่กับเมืองนครมาแล้วตั้งแต่ปี 2529  ตอนเพื่อนแจ้งว่าเราจะไปกินอาหารเย็นที่ร้านนี้  แต่ละคนก็สอบถามว่า มี อาหาร .... หรือไม่  ปรากฏว่าเพื่อนบอกว่ามีทุกอย่างที่เพื่อนๆถาม  ไอ้ผมก็งงว่าร้านนี้มันขายทุกอย่างเรยหรือ (ว๊ะ)  พอเข้าร้านไปมีจริงๆ   แถมใช้ระบบการสั่งสินค้าที่ทางพนักงานเสิรฟใช้มือถือส่งออเดอร์ไปยังพ่อครัวแม่ครัว  หรือ แผนกน้ำ/เครื่องดื่ม    และที่สำคัญเมนูอาหารนั้นหลาหลายมากจริงๆ   ไม่ว่าจะเป็นอาหารคาว  โดยเฉพาะเครื่องดื่มและของว่าง  ของหวาน  และ “โรตี” ซึ่งเป็นซิกเนเจอร์ของร้าน  โดยผมได้สั่งแบบว่าไปหากินที่ร้านอื่นๆไม่ได้  คือ  “โรตี  ภูเขาไฟ”   และ  “ชาฝอยทอง”  ตาม และ  “ชาฝอยทอง”  ตามภาพประกอบเลยครับ  ที่ไม่ธรรมดาเพราะมีให้เลือก  30-40 แบบ   ได้พบกับลูกชายบังบ่าวดูแลกิจการด้วยตนเอง   ซึ่งตอนนี้ขยายออกไปเป็น 10 กว่าสาขา   และยกระดับมาเปิดที่    ไอคอนสยาม  เสียด้วย    เป็นการยกระดับจากบ้านสู่ห้าง



            ร้านที่สอง คือ  “ขนมจีนป้าเขียว”  ซึ่งเป็นร้านที่ตั้งอยู่ในสวนที่อำเภอลานสกา  ใกล้ๆกับครีวง     ที่มีบิสิเนสโมเดลต่างจากร้านขนมจีนที่อื่น  คือปกติเราก็จะสั่งว่าจะเอาขนมจีน  น้ำพริก(รสหวาน)    น้ำกะทิ   น้ำแกงเผ็ด(ภาคกลางเรียกน้ำยาป่า )   แกงน้ำเคย( แกงไตปลา )   แต่ที่นี้มีแบบว่าไปหลายคนสั่งเส้นขนมจีน 1 ถาด น้ำหนัก 1 กก.  ในราคา 150 บาท  โดยน้ำยาทั้งสี่ชนิด  ผักทั้งหลาย ฟรี  เรียกได้ว่า ก็ตกคนละ 35 บาท ถึง 50 บาท ต่อคน  แต่หากเพิ่มไข่ต้ม  หรือ  แกงเขียวหวานก็เพิ่มเมนูและจ่ายเงินค่าไข่ต้ม ส่วนแกงเขียวหวานก็ 30 บาท/ถ้วย    แถมยังมีไก่ทอดรสอร่อยๆที่เรียกได้ว่าเป็นเมนูที่ต้องสั่งเพราะกรอบอร่อยมากจริงๆ  และมีผงที่ใช้คลุกไก่เพื่อทอดขายกลับเอามาทอดเองที่บ้านได้อีกด้วย

 



 

            เรียกได้ว่าถ้านำแนวทางในการทำธุรกิจแบบบ้านๆมาปรับใช้  ก็สามารถที่จะอยู่ได้ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน  แต่กว่าทั้งสองร้านจะผ่านจุดนั้นมาได้ก็คงต้องอาศัยความมุ่งมัน  การสังเกตุ การปรับปรุงร้าน  การดำเนินการของร้านให้ถูกกับจริต  รสชาด  การบริการ ฯลฯ  นั่นเอง

 

วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2566

1 หมื่นบาทที่แจก....ต้องแลกกับอะไร ??

 



26 ตุลาคม 2566

            ตอนเรียนปริญญาตรีได้มีโอกาสลงเรียนวิชา “เศรษฐศาสตร์” น่าจะอยู่ราวๆปี  2522  แถมเกรดก็ได้แค่ C+ ซึ่งก็บ่งบอกถึงองค์ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ที่มีอยู่เท่าหางอึ่ง  แต่เวลาผ่านไป 44 ปีผ่านร้อนผ่านหนาวและวิกฤตเศรษฐกิจ  ประสบการณ์สอนให้เข้าใจเศรษฐศาสตร์มากขึ้น   แบบเรียกได้ว่า  “เศรษฐศาสตร์ชาวบ้าน”  ก็เลยอยากแสดงความคิดเห็นเรื่องการแจกเงิน  10,000 บาท ของรัฐบาลเศรษฐาที่คิดจะทำให้คนเป็นเศรษฐี   และอาจจะต่างจากมุมมองของนักวิเคราะห์ทั้งหลายที่อาจจะมีมุมมองทางการเมืองแอบอยู่นิดๆ   โดยจะทำเป็นแบบตั้งคำถามและข้อสังเกตเป็นข้อๆโดยปราศจากอคติใดๆทั้งสิ้น  ดังนี้

1.ถ้าคุณมีเงินจับจ่ายใช้สอยพอเพียง  โดยผมจะขอยกตัวอย่างโดยเอาตัวเองและคนรอบข้างเป็นเกณฑ์  ก็จะพบว่าหากได้เงินมา  ก็จะนำมาใช้จ่ายเพื่อการบริโภคโดยเก็บเงินของตัวเองไว้เพราะเราก็คงจะบริโภคเท่าเดิมหรืออาจจะเพิ่มเติมเล็กน้อย  สมมุติว่าผมไปซื้อของซุปเปอร์เดือนละ  5,000 บาท ครบสี่เดือนเงินหนึ่งหมื่นบาทก็หมด  ผมค่อยเอาเงินของผมมาซื้อของในซุปเปอร์ต่อไป  หรือผมอาจจะซื้อทีเดียวครบหนึ่งหมื่นบาทเรยแต่ก็เก็บสินค้าเหล่านั้นไว้บริโภค  พอสินค้าหมดก็ค่อยไปซื้อใหม่ประมาณนี้    หรือผมวางแผนว่าจะซื้อทีวีตอนเดือนมิถุนายน   พอได้เงินมาก็ซื้อเสียก่อนเรียกว่าใช้สิทธิของตนเอง  พอมิถุนายนก็ไม่ต้องซื้อแล้ว

2.เท่ากับว่าไม่ได้เกิดกระตุ้น  การใช้จ่ายที่แท้จริง มันไม่ไม่  REAL DEMAND  เพราะว่าเพียงแต่เอาเงินรัฐบาลแจกมาใช้ก่อน  มันไม่ได้เกิดจากความต้องการที่แท้จริง  หรือ ทำให้เกิดการบริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างแท้จริงนั่นเอง  เพราะรัฐบาลคิดว่าพอคนจับจ่ายใช้สอย 5.6 แสนล้าน  เอกชนก็ต้องเพิ่มกำลังผลิต ลงทุน  ....หยุดก่อน..หาเป็นเช่นนั้นไม่เพราะว่าทุกวันนี้แต่ละโรงงานมีกำลังผลิตเหลือเฟื้อ  ก็คงเพิ่มการผลิตแต่คงไม่ลงทุนขยายกิจการเป็นแน่เท้

3.แต่สำหรับคนที่ไม่ค่อยมีเงิน  ก็คงจับจ่ายใช้สอย เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอนเพราะเงินในกระเป๋าไม่ค่อยมี  หรือ เรียกว่าต้องไปกู้หนี้ยืมสินมาใช้จ่าย   ก็จะกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายได้ในส่วนนี้เพราะเดิมคนมีรายได้  12,000 บาท ชักหน้าไม่ถึงหลังต้องกินข้าวไม่ครบมือหรือไม่อิ่มท้อง  ก็สามารถมีเงินมาซื้อข้าวได้ครบมื้อ  ในปริมาณที่กินอิ่มท้อง  หรือ ได้อาหารที่เป็นเนื้อหนังมากขึ้นมากกว่า ข้าวไข่เจียว  หรือ บะหมี่สำเร็จรูป

4.คำถามว่าแล้วมีคนที่พอจะมีเงินจับจ่ายใช้สอยจริงกี่คน ( Real Demand )   สมมุติว่าครึ่งหนึ่ง  ดังนั้นเงิน  5.6 แสนล้านก็จะถูกนำไปใช้จ่ายให้เกิด  การหมุนเวียนที่แท้จริง  2.8 แสนล้าน หมุนให้เต็มที่ 3 รอบ  ก็จะ 7.4 แสนล้านบาท  ไม่ใช่ 3 .5 ล้านล้านบาทที่รัฐบาลคำนวน

5.แล้วมันคุ้มกับการลงทุนหรือไม่ ???  อันนี้มีปัจจัยอื่นเข้ามาแทรกให้คิดคำนวนมากขึ้น  แต่จากปากของผู้บริหารสูงสุดของไอเอ็มเอฟเองบอกว่า  “ไม่ควรกระตุ้นเศรษฐกิจมากเกินไป  ในขณะที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว” ผมคงไม่ไปคิดถึงว่าแล้วจะเอาเงินจากไหน     “ของฟรี  ไม่มีในโลก”  ยังเป็นคำที่ใช้ได้อยู่เพราะไม่ว่าจะเอาเงินมาจากไหน  ด้วยวิธีใด  ก็จะเป็นสิ่งที่ประชาชนจะต้องจ่าย  ก็แค่จะจ่ายคืนด้วยวิธีใด  ปีละเท่าใด  กี่ปีจะหมด  เพราะรัฐก็ต้องเอาเงินภาษี / รายได้ของรัฐ อย่างใดอย่างหนึ่งมาจ่ายนั่นเอง

6.ที่สำคัญไปกว่านั้น  ร้านค้าที่จะสามารรับเงินแจกนี้ได้  จะมี เซเว่นอีเลฟเว่นของซีพี  มีบิกซีของเบียร์ช้าง  มีเซ็นทรัลมีเอ็มโพเรียม ฯลฯ ด้วยหรือไม่  เพราะหากมีแล้วเค้าเอาไปซื้อ ของแบรนด์เนม  สินค้าจากต่างประเทศ  หรือแม้จะเป็นของไทยๆแต่กำไรไปตกกับเจ้าสัวทั้งหลายหรือไม่  ซึ่งเรื่องนี้ยังไม่มีใครเคยกล่าวถึงและรัฐก็ยังไม่ได้แถลงว่าจะมีกติกาในเรื่องนี้อย่างไรแล้วจะปรับแต่งโครงการอย่างไร ??

7.แจกเฉพาะคนเปราะบางจริงๆ  เช่น  ไม่แจกคนที่มีเงินในธนาคารเกิน   200,000 บาท / มีที่ดินเกิน  100 ตารางวา / มีเงินเดือนเกิน  30,000 บาท / บำนาญเกิน 30,000 บาท  ฯลฯ เป็นต้น  โดยตัวเลขปรับแต่งได้ตามแต่จะเห็นสมควร ซึ่งดูเหมือนว่ารัฐก็อาจจะเลือกแนวทางนี้ คือไม่แจกทุกคนเพราะได้ยินนายกฯพูดถึงเรื่องนี้เมื่อวานนี้ ( 25 ตุลาคม 2566 ) ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องดี  หรืออย่างง่ายๆเลยก็แจกคนที่มีบัตรสวัสดิการ 14-15 ล้านคน  ที่ผมเชื่อว่าหากมีเวลาสกรีนออกน่าจะมีไม่ถึง 10-12 ล้านคน  ซึ่งจะทำให้ใช้งบประมาณค่า 1.0-1.2 แสนล้านบาทเท่านั้น ไม่ต้องไปกู้เงินเรยปรับแต่งโยกงบประมาณมาดำเนินการได้เลย  ไม่ต้องเสี่ยงติดคุกติดตะรางหากผิดพลาดไป.....  นอกจากนี้แล้วกำหนดเลยว่าให้ซื้อได้จากกิจการเอสเอ็มอีเท่านั้น และใช้ทั้งอำเภอ หรือ จังหวัด   ที่มีหลายคนเสนอแล้ว

8.เอาเงินที่เหลือมาดำเนินการจัดอีเวนต์  ถ้านึกไม่ออกนึกถึงงานกาชาด  หรือ งานแข่งขันวิ่งเช่นบุรีรัมย์มาราธอน หรือบางแสน 21   งานโอท้อปแต่ละจังหวัดแต่ต้องมีศิลปินมาเรียกแขกด้วยนะ ที่มีคนเข้าร่วมเป็นหมื่นๆคน  ให้ชาวบ้านร้านตลาดมาขายของ  เงินของผู้ที่ได้รับแจกก็จะนำมาจับจ่ายใช้สอยในงาน  แถมคนที่ไม่ได้รับแจกมาร่วมงานก็จะเกิดการจัดจ่ายใช้สอยเช่นเดียวกัน 

9.เอาเงินที่เหลือมาทำโครงการอื่นๆ  โดยเน้นที่ธุรกิจบริการ เพราะว่าธุรกิจบริการไม่ใช้มันหมดไป  ไม่สามารถเก็บไว้ได้ ต้องบริโภค ณ. ขณะรับบริการเท่านั้น  โดยให้ปรับแต่ง คนละครึ่ง ซึ่งเป็นโครงการเดียวในสมัยลุงตู่ที่ผมเห็นด้วย  5555  มาใช้เพื่อให้คนมีเงินช่วยออกครึ่งหนึ่งแทน  แต่คงกลัวว่าภาพจำจะไปตกกับลุงตู่.... งั้นก็เปลี่ยนเป็นให้รัฐออก  25 เปอร์เซนต์ คนใช้ออก 75 เปอร์เซนต์ และ เปลี่ยชื่อเป็น  “รัฐเสี้ยวเดียว”  แทนก็คงจะเสียว และ เก๋ไก๋ สไลเดอร์ ไม่น้อย .......

 

 

วันเสาร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2566

กิน ฟิน มู

 

กิน  ฟิน มู

20 ตุลาคม 2566



  เครดิตภาพ บ.จาบีน จก.

            ถ้าถามว่า “ทำไมเราซื้อสินค้าแบรนด์นี้??  เราจะคำตอบที่หลากหลาย  ไม่ว่าจะเป็น

 “ราคาถูก” สำหรับคนที่ชอบประหยัด ไม่สนใจคุณภาพ บริการเท่าที่ควร  อาจจะเป็นเพราะสองกรณี คือ เงินในกระเป๋ามีน้อย  กับ อุปนิสัยมัธยัสธ์

“บริการดี”  สำหรับคนที่เน้นบริการแพงไม่ว่าขอให้ข้าได้เป็นราชา โดยเฉพาะธุรกิจบริการ  เช่น โรงแรม  เพราะไม่ว่าจะเข้าไปใช้บริการในโรงแรมที่มีระดับเดียวกัน  ก็จะเห็นสิ่งอำนวยความสะดวกเหมือนกัน  แต่เราเลือกไปโรงแรมใดก็จะต้องดูทำเลและการบริการเป็นสำคัญ

“คุณภาพดี” สำหรับพวกที่เน้นความคุ้มค่าอาจจะประหยัดพลังงาน  ทนทาน  ฯลฯโดยนิยามของคำว่าคุณภาพของแต่ละคนก็แตกต่างกันออกไปตามบริบท และ ประสบการณ์ของบุคคลนั้นๆ

“ใครๆเค้าก็ใช้กัน”  ซึ่งอาจจะเป็นเพื่อน ดารา  เซเลบ หรือพรีเซนตอร์   ครีม และ อาหารเสริม  ทั้งหลาย ที่ขายบนทีวีกับออนไลน์   ชอบใช้จุดนี้เพราะว่าครีมเป็นอะไรที่ต้องอาศัยอารมณ์และความเชื่อถือเพราะ  ต้องใช้เวลานานในการเห็นผลสัมฤทธิ์  ไม่เหมือนแอร์ที่วัดได้ว่าเย็นหรือไม่ ประหยัดไฟหรือไม่โดยมีฉลากเบอร์ 5 เป็นตัวรับรอง   ซิ่งสินค้าในหมวดเหล่านี้ใช้ดาราเป็นพรีเซนเตอร์น้อยมาก

แต่สุดท้ายแล้ว ....คำตอบที่ง่ายที่สุดคือ   “มันโดนใจ”  ซึ่งใจในที่นี่ก็คงหมายถึงอะไรก็ได้ที่มากระตุ้นต่อมคี้มึ้ง  ซึ่งภาษาของจอมยุทธ์คือ “จุดสลบ”  “จุดตาย”  ที่เรียกได้ว่าถ้าโดนแล้วหลอมละลาย ไม่ซื้อไม่ได้เดี๋ยวจะคุยกับเขาไม่รู้เรื่อง  อะไรประมาณนี้

ดังนั้น   “ สินค้าต้องมีจุดขาย   ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย “  มันเป็นจุดที่ผู้บริโภคใช้ตัดสินใจเพื่อเข้าไปซื้อสินค้าหรือบริการนั้น   แต่ถ้าเป็น “ มู “ เข้ามาเป็นทางเลือก

กิน ****    คือว่าร้านนี้ต้อง อร่อย  เด่น  ดัง   ดัง  มีมิชิลินรับรอง  มีเชล์ชวนชิม ซึ่งคนอายุน้อยกว่า 30 คงไม่รู้จัก  555  หรหืหรือแม่ช้อยนางรำ   อันนี้ก็น่าจะไม่รู้จัก    ที่เห็นเด่นชัดก็น่าจะเป็น  เจ๊ไฝ  ที่อาหารดูเหมือนไม่มีอะไรไข่เจียวปูที่เป็นก้อนๆ  แต่คนต้องไปเข้าคิวรอกินกัน 

            หรืออีกร้านหนึ่งที่ผมเพิ่งไปกินมาเมื่อเร็วๆนี้  “บ้านปูไข่ดอง”  ซื่งมีเชฟโน๊ตคอยบริการอยู่ที่นี่ และมีสาขาเดียว  ทีแรกนอนัดก็ก็นึกว่าจะมีแต่ปูไข่ดอง  ปรากฏว่ามีตัวเลือกอาหารเยอะมากมายแถมอร่อยทุกจานจนอดเอามาเขียนชมไม่ได้เรยครับ

ฟิน **** ที่ย่อมาจาก ฟินนาเล่ หากแปลตรงๆก็จะหมายถึง ฉากสุดท้านในละคร หรือ ตอนจบของละคร  ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะแฮปปี้เอ็นดิ้ง(เฉพาะละครไทยกระมัง)  แต่คนรุ่นใหม่เค้าหมายถึงว่า สุขสมอารมณ์หมาย  หรือสุดยอดมากไม่มาจะเสียดายประมาณนั้น  ซึ่งคงจะหมายถึง  บรรยากาศ  จุดถ่ายรูป  จุดเช็คอิน  เป็นเดอะมัสท์ที่ไม่ไปจะคุยกับเขาไม่รู้เรื่อง  ที่สมัยนี้หากต้องการค้นหา  ก็แค่ในกูเกิ้ลใส่คำว่า “ร้านอาหารสายฟิน”  เข้าไปก็จะมีตัวเลือกแบบว่า แนะนำ  10 / 20 ร้านอาหารสายฟิน   บรรยากาศดี   ถ่ายรูป อะไรประมาณนี้  ผมก็ใช้บริการนี้ไปเจอร้าน Sheep Village ร้านอาหารริมน้ำ บรรยากาศคันทรี่ ในคอนเซ็ปต์ Farm & Restaurant ตกแต่งร้านเป็นหมู่บ้านเล็กๆ สบายๆ มีแกะด้วยนิ  เป็นต้น

มู  ****    คือสายมูเตลู  หมายถึงสายที่ชอบเรื่องลี้ลับ ไสยศาสตร์  สิ่งศักดิ์สิทธิ์  ฯลฯ ก็นำมาผนวกกับอาหารเพื่อความเป็นสิริมงคล   หรือจัดอาหารตามธาตุเจ้าเรื่อง  ซึ่งสาย “มู” นี้ยังไม่ค่อยมีใครนำมาเป็นจุดขายของร้านอาหารเสียเท่าใด  ใครจะเอาไปทำตามก็ไม่สงวนลิขสิทธิ์นะครับ   รวมทั้งจัดบรรยากาศให้เหมือนบ้านแม่มด หรือ แม่หมอ รวมทั้งมีแม่หมอมาบรรยาย หรือดูดวงให้และที่ขาดไม่ได้ก็เสริมด้วยการขายของสายมู  ของลงอาคมต่างๆด้วยก็เรียกว่าครบวงจร

 


ขายรัย...ทำไมเราอิน (มาก)

                                                   เครดิตภาพจาก "เฟสบุคไทรสุก"           สองอาทิตย์ก่อนไปเห็นน้องคนหนึ่งที่เป็...