วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2566

1 หมื่นบาทที่แจก....ต้องแลกกับอะไร ??

 



26 ตุลาคม 2566

            ตอนเรียนปริญญาตรีได้มีโอกาสลงเรียนวิชา “เศรษฐศาสตร์” น่าจะอยู่ราวๆปี  2522  แถมเกรดก็ได้แค่ C+ ซึ่งก็บ่งบอกถึงองค์ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ที่มีอยู่เท่าหางอึ่ง  แต่เวลาผ่านไป 44 ปีผ่านร้อนผ่านหนาวและวิกฤตเศรษฐกิจ  ประสบการณ์สอนให้เข้าใจเศรษฐศาสตร์มากขึ้น   แบบเรียกได้ว่า  “เศรษฐศาสตร์ชาวบ้าน”  ก็เลยอยากแสดงความคิดเห็นเรื่องการแจกเงิน  10,000 บาท ของรัฐบาลเศรษฐาที่คิดจะทำให้คนเป็นเศรษฐี   และอาจจะต่างจากมุมมองของนักวิเคราะห์ทั้งหลายที่อาจจะมีมุมมองทางการเมืองแอบอยู่นิดๆ   โดยจะทำเป็นแบบตั้งคำถามและข้อสังเกตเป็นข้อๆโดยปราศจากอคติใดๆทั้งสิ้น  ดังนี้

1.ถ้าคุณมีเงินจับจ่ายใช้สอยพอเพียง  โดยผมจะขอยกตัวอย่างโดยเอาตัวเองและคนรอบข้างเป็นเกณฑ์  ก็จะพบว่าหากได้เงินมา  ก็จะนำมาใช้จ่ายเพื่อการบริโภคโดยเก็บเงินของตัวเองไว้เพราะเราก็คงจะบริโภคเท่าเดิมหรืออาจจะเพิ่มเติมเล็กน้อย  สมมุติว่าผมไปซื้อของซุปเปอร์เดือนละ  5,000 บาท ครบสี่เดือนเงินหนึ่งหมื่นบาทก็หมด  ผมค่อยเอาเงินของผมมาซื้อของในซุปเปอร์ต่อไป  หรือผมอาจจะซื้อทีเดียวครบหนึ่งหมื่นบาทเรยแต่ก็เก็บสินค้าเหล่านั้นไว้บริโภค  พอสินค้าหมดก็ค่อยไปซื้อใหม่ประมาณนี้    หรือผมวางแผนว่าจะซื้อทีวีตอนเดือนมิถุนายน   พอได้เงินมาก็ซื้อเสียก่อนเรียกว่าใช้สิทธิของตนเอง  พอมิถุนายนก็ไม่ต้องซื้อแล้ว

2.เท่ากับว่าไม่ได้เกิดกระตุ้น  การใช้จ่ายที่แท้จริง มันไม่ไม่  REAL DEMAND  เพราะว่าเพียงแต่เอาเงินรัฐบาลแจกมาใช้ก่อน  มันไม่ได้เกิดจากความต้องการที่แท้จริง  หรือ ทำให้เกิดการบริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างแท้จริงนั่นเอง  เพราะรัฐบาลคิดว่าพอคนจับจ่ายใช้สอย 5.6 แสนล้าน  เอกชนก็ต้องเพิ่มกำลังผลิต ลงทุน  ....หยุดก่อน..หาเป็นเช่นนั้นไม่เพราะว่าทุกวันนี้แต่ละโรงงานมีกำลังผลิตเหลือเฟื้อ  ก็คงเพิ่มการผลิตแต่คงไม่ลงทุนขยายกิจการเป็นแน่เท้

3.แต่สำหรับคนที่ไม่ค่อยมีเงิน  ก็คงจับจ่ายใช้สอย เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอนเพราะเงินในกระเป๋าไม่ค่อยมี  หรือ เรียกว่าต้องไปกู้หนี้ยืมสินมาใช้จ่าย   ก็จะกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายได้ในส่วนนี้เพราะเดิมคนมีรายได้  12,000 บาท ชักหน้าไม่ถึงหลังต้องกินข้าวไม่ครบมือหรือไม่อิ่มท้อง  ก็สามารถมีเงินมาซื้อข้าวได้ครบมื้อ  ในปริมาณที่กินอิ่มท้อง  หรือ ได้อาหารที่เป็นเนื้อหนังมากขึ้นมากกว่า ข้าวไข่เจียว  หรือ บะหมี่สำเร็จรูป

4.คำถามว่าแล้วมีคนที่พอจะมีเงินจับจ่ายใช้สอยจริงกี่คน ( Real Demand )   สมมุติว่าครึ่งหนึ่ง  ดังนั้นเงิน  5.6 แสนล้านก็จะถูกนำไปใช้จ่ายให้เกิด  การหมุนเวียนที่แท้จริง  2.8 แสนล้าน หมุนให้เต็มที่ 3 รอบ  ก็จะ 7.4 แสนล้านบาท  ไม่ใช่ 3 .5 ล้านล้านบาทที่รัฐบาลคำนวน

5.แล้วมันคุ้มกับการลงทุนหรือไม่ ???  อันนี้มีปัจจัยอื่นเข้ามาแทรกให้คิดคำนวนมากขึ้น  แต่จากปากของผู้บริหารสูงสุดของไอเอ็มเอฟเองบอกว่า  “ไม่ควรกระตุ้นเศรษฐกิจมากเกินไป  ในขณะที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว” ผมคงไม่ไปคิดถึงว่าแล้วจะเอาเงินจากไหน     “ของฟรี  ไม่มีในโลก”  ยังเป็นคำที่ใช้ได้อยู่เพราะไม่ว่าจะเอาเงินมาจากไหน  ด้วยวิธีใด  ก็จะเป็นสิ่งที่ประชาชนจะต้องจ่าย  ก็แค่จะจ่ายคืนด้วยวิธีใด  ปีละเท่าใด  กี่ปีจะหมด  เพราะรัฐก็ต้องเอาเงินภาษี / รายได้ของรัฐ อย่างใดอย่างหนึ่งมาจ่ายนั่นเอง

6.ที่สำคัญไปกว่านั้น  ร้านค้าที่จะสามารรับเงินแจกนี้ได้  จะมี เซเว่นอีเลฟเว่นของซีพี  มีบิกซีของเบียร์ช้าง  มีเซ็นทรัลมีเอ็มโพเรียม ฯลฯ ด้วยหรือไม่  เพราะหากมีแล้วเค้าเอาไปซื้อ ของแบรนด์เนม  สินค้าจากต่างประเทศ  หรือแม้จะเป็นของไทยๆแต่กำไรไปตกกับเจ้าสัวทั้งหลายหรือไม่  ซึ่งเรื่องนี้ยังไม่มีใครเคยกล่าวถึงและรัฐก็ยังไม่ได้แถลงว่าจะมีกติกาในเรื่องนี้อย่างไรแล้วจะปรับแต่งโครงการอย่างไร ??

7.แจกเฉพาะคนเปราะบางจริงๆ  เช่น  ไม่แจกคนที่มีเงินในธนาคารเกิน   200,000 บาท / มีที่ดินเกิน  100 ตารางวา / มีเงินเดือนเกิน  30,000 บาท / บำนาญเกิน 30,000 บาท  ฯลฯ เป็นต้น  โดยตัวเลขปรับแต่งได้ตามแต่จะเห็นสมควร ซึ่งดูเหมือนว่ารัฐก็อาจจะเลือกแนวทางนี้ คือไม่แจกทุกคนเพราะได้ยินนายกฯพูดถึงเรื่องนี้เมื่อวานนี้ ( 25 ตุลาคม 2566 ) ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องดี  หรืออย่างง่ายๆเลยก็แจกคนที่มีบัตรสวัสดิการ 14-15 ล้านคน  ที่ผมเชื่อว่าหากมีเวลาสกรีนออกน่าจะมีไม่ถึง 10-12 ล้านคน  ซึ่งจะทำให้ใช้งบประมาณค่า 1.0-1.2 แสนล้านบาทเท่านั้น ไม่ต้องไปกู้เงินเรยปรับแต่งโยกงบประมาณมาดำเนินการได้เลย  ไม่ต้องเสี่ยงติดคุกติดตะรางหากผิดพลาดไป.....  นอกจากนี้แล้วกำหนดเลยว่าให้ซื้อได้จากกิจการเอสเอ็มอีเท่านั้น และใช้ทั้งอำเภอ หรือ จังหวัด   ที่มีหลายคนเสนอแล้ว

8.เอาเงินที่เหลือมาดำเนินการจัดอีเวนต์  ถ้านึกไม่ออกนึกถึงงานกาชาด  หรือ งานแข่งขันวิ่งเช่นบุรีรัมย์มาราธอน หรือบางแสน 21   งานโอท้อปแต่ละจังหวัดแต่ต้องมีศิลปินมาเรียกแขกด้วยนะ ที่มีคนเข้าร่วมเป็นหมื่นๆคน  ให้ชาวบ้านร้านตลาดมาขายของ  เงินของผู้ที่ได้รับแจกก็จะนำมาจับจ่ายใช้สอยในงาน  แถมคนที่ไม่ได้รับแจกมาร่วมงานก็จะเกิดการจัดจ่ายใช้สอยเช่นเดียวกัน 

9.เอาเงินที่เหลือมาทำโครงการอื่นๆ  โดยเน้นที่ธุรกิจบริการ เพราะว่าธุรกิจบริการไม่ใช้มันหมดไป  ไม่สามารถเก็บไว้ได้ ต้องบริโภค ณ. ขณะรับบริการเท่านั้น  โดยให้ปรับแต่ง คนละครึ่ง ซึ่งเป็นโครงการเดียวในสมัยลุงตู่ที่ผมเห็นด้วย  5555  มาใช้เพื่อให้คนมีเงินช่วยออกครึ่งหนึ่งแทน  แต่คงกลัวว่าภาพจำจะไปตกกับลุงตู่.... งั้นก็เปลี่ยนเป็นให้รัฐออก  25 เปอร์เซนต์ คนใช้ออก 75 เปอร์เซนต์ และ เปลี่ยชื่อเป็น  “รัฐเสี้ยวเดียว”  แทนก็คงจะเสียว และ เก๋ไก๋ สไลเดอร์ ไม่น้อย .......

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขายรัย...ทำไมเราอิน (มาก)

                                                   เครดิตภาพจาก "เฟสบุคไทรสุก"           สองอาทิตย์ก่อนไปเห็นน้องคนหนึ่งที่เป็...